ชื่อการประชุม |
 |
(online) Best practice to identify CQA and CPP in process validation |
สถาบันหลัก |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
รหัสกิจกรรม |
 |
2004-2-000-002-02-2565 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
webinar |
วันที่จัดการประชุม |
 |
26 ก.พ. 2565 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย) |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
ผู้บริหาร ประกันคุณภาพ ควบคุมคุณภาพ ผลิต วิศวกรรม ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพ / GMP ผู้สนใจทั่วไป |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
2.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันและแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559 ภาคผนวก 14 “การตรวจรับรองและการตรวจสอบความถูกต้อง” (Qualification and validation) ผู้ผลิตต้องควบคุมประเด็นสำคัญของการดำเนินการผ่านตรวจรับรองและการตรวจสอบความถูกต้องตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ผู้ผลิตต้องมีองค์ความรู้ความเข้าใจกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ และการวางแผนของกระบวนการเป็นความสำคัญของระบบการตรวจสอบความถูกต้อง หนึ่งในกระบวนการที่สำคัญคือจัดเตรียมเอกสารโปรโตรคอลการตรวจสอบความถูกต้อง (process validation protocol) ซึ่งมีกำหนดลักษณะประจำวิกฤตของคุณภาพ (critical quality attribute ,CQA) และพารามิเตอร์วิกฤตของกระบวนการ (critical process parameter, CPP) รวมทั้งเกณฑ์การยอมรับที่เกี่ยวข้อง ที่ได้จากข้อมูลการพัฒนา หรือองค์ความรู้ของกระบวนการ
วัตถุประสงค์
• เพื่อให้เข้าใจความหมายและความสำคัญของ CQA และ CPP
• เพื่อให้เรียนรู้การระบุ CQA และ CPP ในยาหมวดต่างๆ
• เพื่อเรียนรู้การกำหนด CQA และ CPP ในโปรโตรคอลการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ
• เพื่อเรียนรู้การตรวจติดตามและควบคุม CPP เพื่อให้ได้ CQA ตามกำหนด
คำสำคัญ
Qualification and validation, process validation, critical quality attribute ,CQA, critical process parameter, CPP
วิธีสมัครการประชุม
สมัตรออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/
เภสัชกรที่เข้าร่วมอบรมและผ่านการสอบครั้งนี้ จะได้ 2.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง
ค่าลงทะเบียน
สมาชิก TIPA คนละ 535 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)
บุคคลทั่วไป คนละ 856 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% )