การประชุมวิชาการ
โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรด้านบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็งแบบต่อเนื่อง ตามโครงการฟื้นฟูสมรรถนะผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นและเพื่อสนับสนุน การเทียบโอนการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้สม
ชื่อการประชุม โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรด้านบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็งแบบต่อเนื่อง ตามโครงการฟื้นฟูสมรรถนะผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นและเพื่อสนับสนุน การเทียบโอนการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้สม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-012-03-2565
สถานที่จัดการประชุม แบบ Online ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 17 มี.ค. 2565 - 31 พ.ค. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน เป็นเภสัชกรที่เป็นสมาชิกสมาคม APOPA, เภสัชกรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง, ผู้ป่วยมะเร็งทางโลหิตวิทยา ของคณะ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 13.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ด้วยสมาคมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific Oncology Pharmacy Association (APOPA) ที่เริ่มจัดตั้งขึ้นเป็นชมรมเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 และภายหลังได้จดทะเบียนเป็นสมาคมในปี 2563 โดยการรวมตัวกันของกลุ่มเภสัชกรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งในด้านการผสมยาเคมีบำบัดหรือการให้บริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย โดยมีการจัดกิจกรรมประชุมวิชาการ ประชุมเชิงปฏิบัติการ และหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น โดยความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในช่วยทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยพันธกิจที่จะมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของเภสัชกรในทีมสหสาขาวิชาชีพโดยอาศัยการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
วัตถุประสงค์
1. จัดให้มีกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรมสาขาโรคมะเร็งและนักศึกษาเภสัชศาสตร์ที่มีความสนใจเข้าปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง สนับสนุนให้มีการฝึกอบรมในระดับประกาศนียบัตรสำหรับเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยเตรียมผสมยาเคมีบำบัดและการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้เกิดผลการรักษาที่ดี และลดค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากปัญหาจากการใช้ยา
2. เพื่อสนับสนุน การเทียบโอนการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้สมัครที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรอื่นที่ไม่ได้รับรองโดยสภาเภสัชกรรม
3. ส่งเสริมให้เภสัชกรมีบทบาทในการการป้องกันโรคมะเร็ง เช่น การรณรงค์เลิกบุหรี่ การให้ความรู้เรื่องโภชนาการกับการป้องกันโรคมะเร็ง
4. จัดทำมาตรฐานของการจัดการเกี่ยวกับการจัดเก็บ การเตรียมผสม และการทำลายยาเคมีบำบัดที่สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
4. พัฒนามาตรฐานด้านการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติที่มีการยอมรับและมีข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกยืนยัน
5. พัฒนาสื่อทางอินเตอร์เน็ตและสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้เภสัชกรในการป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยา
6. จัดหาทุนวิจัยสำหรับเภสัชกรเพื่อใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับการป้องกัน การรักษา และบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็ง
7. เป็นแหล่งข้อมูลทางยาที่มีคุณภาพสำหรับผู้ป่วยและบุคคลที่สนใจ โดยให้บริการผ่านทางเว็ปไซต์ จุลสาส์นรวมทั้งจัดให้มีการสนทนากับเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญผ่านอินเตอร์เน็ต
8. สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง เช่น Asia Pacific Oncology Pharmacy Community (APOPC), the American Society of Clinical Oncology (ASCO) และ International Society of Oncology Pharmacy Practitioners (ISOPP) เพื่อพัฒนาให้เกิดมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรสาขาโรคมะเร็งในประเทศไทย
คำสำคัญ
Oncology Pharmacy, บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง
วิธีสมัครการประชุม
Online