ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ Impact of Long-covid on NCD in urban people
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ Impact of Long-covid on NCD in urban people
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-029-11-2564
สถานที่จัดการประชุม ผ่านทางระบบออนไลน์
วันที่จัดการประชุม 28 พ.ย. 2564
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลวชิรพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดทั่วโลก และเป็นโรคติดต่ออันตรายลำดับที่ 14 ของประเทศไทย ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา และส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกในทุกมิติ ในส่วนของผลกระทบด้านสุขภาพนับเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นพื้นฐาน และเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดผลกระทบในมิติอื่น ๆ ตามมา ในปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคโควิด 19 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนต่อเนื่องอันเป็นผลจากการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยปัจจุบันพบว่า ผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการของโรคไม่ติดต่อหลายอย่าง รวมทั้งโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะทางเดินหายใจเรื้อรัง และสภาพจิตใจและระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีหลักฐานของความบกพร่องในการ
ทำงานของไต ตับ ตับอ่อน ม้าม ต่อมหมวกไต และทางเดินอาหาร โดยมีความเป็นไปได้ที่ผลกระทบนี้อาจเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ของร่างกายพร้อมกัน หรือเกิดทีละระบบ อาจเกิดในช่วงเวลาชั่วคราว หรือต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะยาว
ฝ่ายเภสัชกรรมได้ตระหนักถึงความส าคัญของผลกระทบดังกล่าว จึงได้จัดประชุมวิชาการเรื่อง ผลกระทบของโรคโควิด 19 ในระยะยาว ต่อกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะประชาชนในเขตเมือง ที่มีปัจจัยแวดล้อมเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศจากการจราจรในเมืองหลวง ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อไม่เรื้อรังเสริมไปกับการติดเชื้อโรคโควิด 19 ในการจัดประชุมครั้งนี้จึงมุ่งส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับความรู้ที่ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวที่อาจมีจ านวนเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้ต่อไป
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านโรคเขตเมือง และการจัดการผลกระทบของโรคระบาดในสถานการณ์ปัจจุบัน
2.2 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้วิชาการด้านการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจาก โรคโควิด19
2.3 เป็นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเภสัชกรในหน่วยงาน กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิชาการ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.nativeinnov8.com/webinar2