การประชุมวิชาการ
(online) Isolator vs Biosafety Cabinet
ชื่อการประชุม (online) Isolator vs Biosafety Cabinet
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-018-11-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 23 พ.ย. 2564
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ปฏิบัติงานยาปราศจากเชื้อ หรือชีววัตถุ ฝ่ายผลิต ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายตรวจสอบความถูกต้อง ฝ่ายวิศวกรรม ผู้ตรวจประเมิน GMP/ระบบคุณภาพ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การผลิตยาปราศจากเชื้อต้องควบคุมการปนเปื้อนของอนุภาค และจุลินทรีย์ จากสิ่งแวดล้อมซึ่ง GMP กำหนดให้ผลิตในบริเวณสะอาด (clean area) ระดับความสะอาดขึ้นกับขั้นตอนกระบวนการผลิตและประเภทยาที่ผลิต นอกจากการผลิตในบริเวณสะอาดแล้วยังมีการใช้เทคโนโลยีอื่นเพิ่มเติมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนหรือเก็บกักสิ่งปนเปื้อน (containment) เช่น Isolator ,RABS, Lamina Air flow cabinet (LAF) และ Biosafety cabinet กระบวนการควบคุมคุณภาพก็เช่นกัน ต้องมีระบบการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมหรือเก็บกักสิ่งปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการตรวจสอบความปราศจากเชื้อ (sterility test) ที่ต้องตรวจสอบใน LAF หรือ biosafety cabinet ภายใต้ห้องสะอาดตาม GMP แล้ว อาจใช้ isolator technology ในการตรวจสอบความปราศจากเชื้อ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียนรู้หลักการทำงานของ isolator และ biosafety cabinet
2. เพื่อเรียนรู้การใช้งานของ isolator และ biosafety cabinet
3. เพื่อเข้าใจความแตกต่างของการใช้ isolator และ biosafety cabinet ในการทำ sterility test
คำสำคัญ
isolator, biosafety carbinet
วิธีสมัครการประชุม
วิทยากร : Mr.Charles Daviau Application Specialist, Getinge Isolation Technology and transfer system, Genting Co. Ltd ลงทะเบียนออนไลน์ได้ http://tipa.or.th/tipa/register/ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เภสัชกรที่เข้ารับการสัมมนาและผ่านการทดสอบ จะได้ 1.5 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง