ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการออนไลน์ (WEBINAR) เรื่อง Urinary stone and Role of Community Pharmacists.
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการออนไลน์ (WEBINAR) เรื่อง Urinary stone and Role of Community Pharmacists.
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-039-11-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 28 พ.ย. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
นิ่วในทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยส่งเสริมการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรรมพันธุ์ อายุที่เพิ่มขึ้น เพศ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม การรับประทานยาบางชนิด และความผิดปกติหรือโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของทางเดินปัสสาวะทำให้เกิดการตกตะกอนหรือเกิดผลึกของสารที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น นิ่วแคลเซียมฟอสเฟส นิ่วยูเรต และนิ่วออกซาเลต การเกิดนิ่วสามารถพบได้ในทางเดินปัสสาวะหลายตำแหน่ง เช่น นิ่วที่ท่อไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเมื่อมีตะกอนนิ่วเกิดขึ้นจะส่งผลกระตุ้นกระบวนการอักเสบและการทำลายเนื้อเยื่อทางเดินปัสสาวะ การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการทำงานของไตลดลง ทำให้ผู้ป่วยนิ่วมีอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการใด ๆ เลย หรือเริ่มมีความผิดปกติของการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขัด กะปริบกะปรอย ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปน ตลอดไปจนถึงมีอาการทุกข์ทรมานจากความปวดบริเวณบั้นเอวและหลังตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับจุดที่มีการอักเสบอยู่ การป้องกันการเกิดนิ่วโดยปรับลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการรักษานิ่วที่เกิดขึ้นแล้วโดยการใช้ยาหรือมาตรการที่ช่วยสลายและเร่งการขับออกของนิ่วจึงเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ การดูแลรักษานิ่วโดยใช้ยารับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นแนวทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพที่ดีแต่มีความท้าทายในด้านความร่วมมือในการใช้ยา ดังนั้นเภสัชกรชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้โดยการให้ความรู้และคำปรึกษาการใช้ยาเพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะและแนวทางการรักษาในปัจจุบัน
2. เพื่อฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับเภสัชวิทยาคลินิกของยาที่ใช้ในการรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
คำสำคัญ