ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacology of Aescin and Menthol in Pain Management
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacology of Aescin and Menthol in Pain Management
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2002-2-000-004-10-2564
สถานที่จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมมชุมชน (ประเทศไทย)
วันที่จัดการประชุม 17 ต.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมและเภสัชกรที่สนใจ ทั่วไป จำนวน 150-200 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
International Association for the Study of Pain (IASP) ได้ให้คำนิยามถึงความปวดไว้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งทางด้านประสาทสัมผัส (ร่างกาย) และอารมณ์ (ความรู้สึก) ซึ่งเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อหรือเสมือนหนึ่งมีการทำลายเนื้อเยื่อ โดยหากแบ่งตามระยะเวลาที่ทำให้เกิดอาการปวด สามารถแบ่งได้เป็น

1.ปวดเฉียบพลัน เป็นความปวดที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บหรือการอักเสบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งระยะเวลาที่ปวด
จะอยู่ไม่นาน โดยอาการปวดจะทุเลาเมื่อสาเหตุได้รับการแก้ไขหรือหายแล้ว

2.ปวดเรื้อรัง ซึ่งความปวดเรื้อรังหลายชนิด เริ่มจากความปวดเฉียบพลันที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้พัฒนากลายเป็นอาการปวดเรื้อรังในที่สุด โดยมักมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของอารมณ์ จิตใจและกระบวนการคิด และพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ
การใช้ยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวด จึงมีรูปแบบการใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดแตกต่างกัน โดยในกรณีที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดเฉียบพลัน อาจเน้นไปที่การลดการเกิดสารสื่ออักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนการบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง อาจเน้นไปที่การลดการรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดที่อวัยวะส่วนปลาย ไขสันหลังและสมอง รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนอารมณ์ จิตใจและกระบวนการคิด และพฤติกรรมร่วมด้วย
ซึ่งการใช้ยาในกลุ่มเอสซินและเมนทอล ต่างสามารถช่วยในการบรรเทาอาการปวดได้ แต่กลไกในการทำงานแตกต่างกัน ดัสมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) จึงเล็งเห็นความสำคัญว่าเภสัชกรชุมชนต้องมีการความรู้ตามหลักวิชาการ เพื่อให้คำปรึกษากับประชาชนเกี่ยวกับผู้มาใช้บริการได้อย่างถูกต้อง
สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชาชนมีความสนใจใช้สมุนไพรเพื่อรักษา และดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เภสัชกรชุมชนซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จึงต้องมีความมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อทราบกลไกการออกฤทธิ์ของยาในกลุ่มเอสซินและเมนทอลในการบรรเทาอาการปวด
2. สามารถบอกความแตกต่างระหว่างการใช้ยาในกลุ่มเอสซินและเมนทอลในการบรรเทาอาการปวด
3. เภสัชกรชุมชนมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร
คำสำคัญ
ปวดเฉียบพลัน, ปวดเรื้อรัง, เอสซิน, เมนทอล, Reparil ®, Rubparil ® กฎหมายผลิตภัณฑ์สมุนไพร
วิธีสมัครการประชุม
https://mylan.zoom.us/webinar/register/WN_x6uWZk3_Qlyz90CJPSZIpw