การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Drug Interactions: From PK/PD to Patient Safety & Optimal Outcomes
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Drug Interactions: From PK/PD to Patient Safety & Optimal Outcomes
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-001-02-2565
สถานที่จัดการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Event
วันที่จัดการประชุม 17 -19 ก.พ. 2565
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่สนใจ จำนวน 400 คน (ไม่รับลงทะเบียนหน้างาน)
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 15.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการใช้ยาร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือสมุนไพร ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้ผู้ที่รับประทานได้รับผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบจากยาที่รับประทาน ส่งผลเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพของยา อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิผลจากการรักษาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ ยาหลายกลุ่มในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิชาการแสดงให้เห็นถึงปฏิกิริยาระหว่างยา รวมถึงการค้นพบองค์ความรู้และทฤษฎีใหม่ของปฏิกิริยาระหว่างยา
ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกลไกของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา ขอบเขตของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น โดยประยุกต์ความรู้ทางเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) เข้ามาอธิบายสาเหตุ รวมไปถึงใช้ความรู้ดังกล่าวมาวางแผนการรักษา เพื่อมุ่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยาโดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ จึงมีความสำคัญที่บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทั้งเภสัชกร แพทย์ และพยาบาลจะได้ตระหนัก และนำองค์ความรู้เหล่านี้ไปประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาร่วมกัน การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา การให้คำปรึกษาทางยาแก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถ
1. อธิบายความรู้พื้นฐานโดยอาศัยหลักการทาง pharmacokinetics และ pharmacodynamics ที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยา
2. ค้นหาและประเมินปฏิกิริยาระหว่างยาได้อย่างถูกต้องตามหลักฐานทางวิชาการ
3. ระบุคู่ปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ
4. ประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาร่วมกัน และการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง
ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
5. รวบรวมปัญหาปฏิกิริยาระหว่างยา เพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย

คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-450910-5 ชื่อบัญชี การประชุมวิชาการเภสัชกรรมคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ) ค่าลงทะเบียน 1) การร่วมประชุมที่คณะเภสัชศาสตร์ (onsite) 3,500 บาทต่อคน 2) การประชุมผ่านระบบออนไลน์ (online) 1,500 บาทต่อคน สำหรับศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับส่วนลดค่าลงทะเบียน 500 บาท ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมได้โดยไม่ถือเป็นวันลาเมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้วและมีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียนจากต้นสังกัดได้ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0409.6/ ว 95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และระเบียบของแต่ละหน่วยงาน สอบถามข้อมูล ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ - หน่วยจัดกิจกรรมวิชาการ ที่โทรศัพท์หมายเลข 087-559-7393 - ผศ. ภญ.พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, คุณพิณพิศ แสงเภา, คุณพูนทรัพย์ มี้เจริญ, ที่โทรศัพท์/โทรสารหมายเลข 0-2644-8694, E-mail: pilbox2021@gmail.com, suppattra.kon@mahidol.ac.th