การประชุมวิชาการ
Webinar: Interprofessional Education in Japan and ASEAN countries
ชื่อการประชุม Webinar: Interprofessional Education in Japan and ASEAN countries
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-2-000-006-07-2564
สถานที่จัดการประชุม Online
วันที่จัดการประชุม 30 ก.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มเป้าหมาย 1) อาจารย์/ผู้ดูแลการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ในประเทศและต่างประเทศจำนวนอย่างน้อย 6 แห่ง 2) เภสัชกรประจำแหล่งฝึกซึ่งดูแลนิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญด้านวิเทศสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคณะเข้าสู่ความเป็นสากลโดยสร้างความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย รวมทั้งการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาเข้าสู่เสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน (socio-cultural ASEAN community) คณะเภสัชศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคณะเภสัชศาสตร์สูสากลขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ผ่านการทำ MOU และการแลกเปลี่ยนนิสิตและคณาจารย์ ซึ่งปัจจุบันคณะเภสัชศาสตร์ มีความร่วมมือระหว่างประเทศจำนวน 10 แห่ง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างประเทศอื่นๆ พัฒนาความสัมพันธ์อย่างมีความต่อเนื่องและพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากการแลกเปลี่ยนนิสิต อาจารย์ บุคลากร เป็นวิจัยร่วม และการจัดประชุมวิชาการร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การยกระดับชื่อเสียงของคณะเข้าสู่สากล
เนื่องด้วย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสถาบันหลักเพื่อผลิตกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้มีการจัดประชุมวิชาการโดยความร่วมมือต่างประเทศภายใต้ MOU ประกอบด้วย Auburn University, USA, University of Health Sciences, Laos, University of the Philippines Manila, Haiphong University of Medicine and Pharmacy, Vietnam, Taylor’s University, Malaysia and Sanata Dharma University, Indonesia และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมุ่งเน้นการเสริมความรู้ที่เป็นปัจจุบันในด้านสนับสนุนงานเภสัชกรรม โดยในการจัดประชุมครั้งนึ้ได้มุ่งเน้นทางด้านเภสัชกรรมปฏิบัติในส่วนของการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลร้านยา รวมถึงการจัดการเรียนการสอนในแหล่งฝึกสำหรับนิสิตเภสัชศาสตร์ในระหว่างการแพร่ระบาดโควิด -19 ซึ่งมีการให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องครั้งนี้ 1 หน่วยกิต
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อาจารย์/เภสัชกรแหล่งฝึกโรงพยาบาล/ร้านยา
2) เพื่อพัฒนาความร่วมมือในด้านวิชาการระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ประเทศไทยและในต่างประเทศ 6 สถาบันภายใต้ MOU
3) เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในด้านการบริการวิชาการในนามสถาบันหลักในการจัดกิจกรรมเพื่อผลิตหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
คำสำคัญ
Interprofessional Education
วิธีสมัครการประชุม
http://pharmacy.msu.ac.th/ipeaseanmsu/index.php/reg4/register?fbclid=IwAR2uTki7_LkFmwN8EGxy_yDWytBBoWM4PFM1ZKCiSrbmGmxqmsIuo9_atNY