การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacy Review and Update Series 2021: Pharmacotherapy of the Eye
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacy Review and Update Series 2021: Pharmacotherapy of the Eye
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-017-08-2564
สถานที่จัดการประชุม ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Event
วันที่จัดการประชุม 23 -25 ส.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร แพทย์ พยาบาล และผู้สนใจที่ลงทะเบียน จำนวน 350 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 18 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
วิทยาการด้านยาในปัจจุบันต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงการนำไปใช้ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าในด้านดังกล่าวยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น บุคลากรทางสาธารณสุขจึงมีความจำเป็นในการที่จะต้องทบทวนความรู้ในเชิงบูรณาการและติดตามความก้าวหน้าของวิทยาการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการทำงานในอาชีพของตนเองในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย จึงมีความประสงค์ที่จะนำเสนอการประชุมวิชาการในรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ด้านเภสัชศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2553 และมีแผนการจัดประชุมในลักษณะเป็นรายปี ในแต่ละปีจะมีปรัชญาการประชุมที่เหมือนกัน คือ เน้นการบูรณาการ แต่เนื้อหาการประชุมอาจจะแตกต่างกันออกไปตามศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดให้มีการประชุมที่เน้นการดูแลการใช้ยาที่ใช้รักษาโรคหรือความผิดปกติของตาและการมองเห็นขึ้น ซึ่งเนื้อหาการประชุมได้ครอบคลุมสรีรวิทยา พยาธิสรีรวิทยา การวินิจฉัย และแนวทางการรักษาโรคของตาและการมองเห็น ได้แก่ การติดเชื้อของเปลือกตา การมองภาพไม่ชัด โรคจุดภาพชัดที่จดตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคต้อหิน โรคภูมิแพ้ของตา การติดเชื้อของเยื่อบุตาขาว โรคตาแห้ง และกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์ รวมถึงโรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ ที่มีอาการแสดงของตาและการมองเห็นร่วมด้วย คือ โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนียกราวิส นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดเนื้อหาในประเด็นทางเภสัชกรรมและเภสัชวิทยาของยาที่ใช้รักษาโรคของตาและการมองเห็นด้วย ได้แก่ องค์ประกอบทางเภสัชกรรมในยาหยอดตา คุณสมบัติทางเภสัชกรรมของน้ำตาเทียม ข้อดีข้อเสียของสารกันเสียในผลิตภัณฑ์ยาหยอดตา ยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การฉีดยาที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดหลอดเลือดผิดปกติเข้าวุ้นลูกตา ยาประเภทต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ลดความดันในลูกตา ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างน้ำตา และอาการไม่พึงประสงค์ของยาชนิดต่าง ๆ ต่อการทำงานของตาและการมองเห็น รวมถึงการใช้สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ เช่น วิตามิน เกลือแร่ ในการรักษาหรือป้องกันภาวะเจ็บป่วยข้างต้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม
1. เข้าใจแนวทางการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาการติดเชื้อของเปลือกตา การมองภาพไม่ชัด โรคจุดภาพชัดที่จดตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคต้อหิน โรคภูมิแพ้ของตา การติดเชื้อของเยื่อบุตาขาว โรคตาแห้ง และกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์ รวมถึงโรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ ที่มีอาการแสดงของตาและการมองเห็นร่วมด้วย คือ โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนียกราวิส
2. อธิบายคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาที่สำคัญของยาที่ใช้ในการรักษาโรคต้อหิน น้ำตาเทียม ยาหยอดตาที่มีส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงสามารถบอกความแตกต่างของยาแต่ละชนิดได้
3. เข้าใจและอธิบายบทบาทของเภสัชกรในการทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทางคลินิก และปลอดภัย
4. เข้าใจและอธิบายหลักการเลือกใช้ยาเพื่อรักษาการติดเชื้อของเปลือกตา การมองภาพไม่ชัด โรคจุดภาพชัดที่จดตาเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคต้อหิน โรคภูมิแพ้ของตา การติดเชื้อของเยื่อบุตาขาว โรคตาแห้ง และกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์ รวมถึงโรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ ที่มีอาการแสดงของตาและการมองเห็นร่วมด้วย คือ โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนียกราวิสได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย โดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการที่ทันสมัย
5. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินความเหมาะสมของการใช้ยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัย และการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
การสมัครและลงทะเบียน - สมัครพร้อมชำระเป็นเงินสดที่ งานคลังและพัสดุ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ - โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-454264-0 ชื่อบัญชี “Pharmacy Review and Update Series” หรือ - สมัครทาง Online ที่เว็บไซต์ www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อมสแกนใบโอนเงินชำระ ค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) หรือ - ส่งใบสมัครพร้อมสำเนาใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) 02-354-4316 หรือทางไปรษณีย์ ไปยัง หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 447 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 ค่าลงทะเบียน - ผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ 1,500 บาทต่อคน (ค่าลงทะเบียน รวมค่าเอกสารประกอบการประชุม) - สำหรับศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1,000 บาทต่อคน จะได้รับส่วนลด 500 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยสนับสนุนการจัดกิจกรรมวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร.087-559-7393 Email: supattra.kon@mahidol.ac.th งานคลังและพัสดุ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์/โทรสารหมายเลข 0-2354-4316 Email: thosawan.ium@mahidol.ac.th