การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการออนไลน์ “การบาดเจ็บจากการกระแทก : ดูแลได้อย่างไร”
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการออนไลน์ “การบาดเจ็บจากการกระแทก : ดูแลได้อย่างไร”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-005-04-2564
สถานที่จัดการประชุม สมุทรปราการ
วันที่จัดการประชุม 25 เม.ย. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การบาดเจ็บเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 35 ปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่หกของโลก โดยลักษณะของการบาดเจ็บจะแบ่งย่อยตามลักษณะของสิ่งที่ทําให้บาดเจ็บ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ Blunt Trauma, Penetrating
- การบาดเจ็บจากการกระทบหรือกระแทก (Blunt trauma) คือ การบาดเจ็บจากการกระทบหรือกระแทกกับสิ่งของต้นเหตุซึ่งเป็นของแข็งไม่มีคม ของที่มีลักษณะทู่
- การบาดเจ็บที่มีแผลทะลุเข้าไปในร่างกาย (Penetrating) คือ การบาดเจ็บจากการกระทบหรือถูกของที่มี ความแหลม/ ของมีคม
โดยการบาดเจ็บร้ายแรงส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บจากการกระแทก ซึ่งอาจเกิดจากการชนของยานยนต์และ การบาดเจ็บของคนเดินถนน การหกล้มซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการทำร้ายโดยตรงต่อร่างกาย รวมถึงการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การบาดเจ็บจากการกระแทก อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ หลายอย่าง ความรุนแรงของการบาดเจ็บเกี่ยวข้องกับทั้งกลไกของการบาดเจ็บและโรคประจำตัวของผู้ป่วย โดยทั่วไป การบาดเจ็บจากการกระแทก สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ การฟกช้ำ การถลอก การฉีกขาดเนื่องจากแรงกระแทกและการแตกหัก การบาดเจ็บจากการกระแทกเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป
การบาดเจ็บจากการกระแทกเป็นผลมาจากร่างกายสัมผัสกับวัตถุทื่อโดยตรง เช่น การฟกช้ำเป็นผลมาจาก แรงกระแทกสำคัญที่ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกใต้ผิวหนังในขณะที่ผิวยังคงอยู่ การถลอกเป็นผลมาจากการขูดออกของผิวหนังชั้นนอกสุด ส่วนการฉีกขาดเป็นผลมาจากแรงกระแทกที่สำคัญทำให้เกิดการฉีกขาดของผิวหนัง ทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่เชื่อมต่อกับบาดแผล อาจมีการอักเสบและการฉีกขาดที่อวัยวะภายใน การกระทบกระแทกของแรงที่มีนัยสำคัญต่อกระดูกอาจทำให้เกิดการแตกหักของกระดูกได้เช่นกัน
ดังนั้น การบาดเจ็บจากการกระแทกเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน เภสัชกรจึงควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและสามารถให้ความรู้แก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะการให้คำแนะนำในเรื่องการดูแลร่างกายหลังเกิดการบาดเจ็บจากการกระแทก การให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยาในการรักษาเบื้องต้น รวมถึงเพื่อลดอาการปวดที่เกิดจาการบาดเจ็บ และช่วยให้การบาดเจ็บดีขึ้นในระยะเวลาที่เหมาะสม เภสัชกรควรมีความรู้ที่ทันสมัยในเรื่องกลไกการเกิดการบาดเจ็บ เพื่อที่จะสามารถเลือกยาทางเลือกต่าง ๆ ที่ช่วยในการรักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก รวมถึงให้คำปรึกษาแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้เภสัชกรมีความเข้าใจกลไกการเกิดบาดเจ็บของร่างกาย
2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้เภสัชกรทราบแนวทางการรักษาการบาดเจ็บจากการกระแทก
3. เพื่อให้เภสัชกรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยาในการรักษาการบาดเจ็บจากการกระแทกได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
การบาดเจ็บจากกการกระแทก, การฟกช้ำ, การถลอก, การฉีกขาดจากแรงกระแทก, ข้อเท้าแพลง, เอสซิน, ยาบรรเทาอาการปวด