ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
(online) The key success to batch record review and batch release
ชื่อการประชุม (online) The key success to batch record review and batch release
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-008-05-2564
สถานที่จัดการประชุม webinar
วันที่จัดการประชุม 22 พ.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย ฝ่ายบริหาร และบุคลากรที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องในการจัดทำ การควบคุม การบันทึก การตรวจสอบ การจัดเก็บ การป้องกันการแก้ไขข้อมูล และการนำกลับออก
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
บันทึกรุ่นผลิต (batch record ) หมายถึงบันทึกกระบวนการผลิต (batch processing record ) และบันทึกรุ่นการบรรจุ ( batch packaging record ) เป็นเอกสารสำคัญของการผลิตยาเพื่อเป็นหลักฐานว่าการผลิตแต่ละรุ่นผลิต มีการผลิตที่ได้ปริมาณที่กำหนดไว้แน่นอนของวัตถุตั้งต้น หรือวัสดุการบรรจุตามสูตรตำรับและคำแนะนำกระบวนการผลิต ที่ได้รับการอนุมัติ และสอดคล้องตรงตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยา รวมถึง บันทึกการดำเนินการทุกอย่างเกี่ยวข้องกับการผลิต เริ่มจากการรับวัตถุตั้งต้น วัสดุการบรรจุ ผ่านเข้าสู่กระบวนการผลิตและการบรรจุจนได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การควบคุมระหว่างกระบวนการผลิต (in-process control ) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการผลิต ปริมาณผลผลิตที่ได้ รวมถึงการสืบสวนหาสาเหตุในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่กำหนด
บันทึกรุ่นผลิต เป็นเอกสารที่ต้องควบคุมตาม GMP ครบวัฏจักรของข้อมูล( data life cycle ) ตั้งแต่ การจัดทำเอกสาร ออกแบบฟอร์ม การบันทึก การทบทวน การจัดเก็บและการทำลายเอกสาร ก่อนดำเนินการผลิตต้องวางแผนการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ เหมาะสม การจัดทำเอกสาร เพื่อใช้บันทึกรุ่นผลิตจำเป็นต้องมีความรู้ เข้าใจขั้นตอน ลำดับกระบวนการการผลิต ค่าพารามิเตอร์สำคัญของกระบวนการ ( critical process parameter ) และค่าคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ( critical quality attribute) ที่ต้องควบคุม อีกทั้งต้องมีข้อมูลครบถ้วนตามที่กำหนดใน GMP ต่อจากนั้นการบันทึกข้อมูลต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการด้านเอกสาร (Good Documentation Practices, GDocP) และสอดคล้องตามหลักการ data integrity เพื่อให้บันทึกเป็นจริง เชื่อถือได้ ครบถ้วน สมบูรณ์ก่อนจะปล่อยผ่านผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย จำเป็นต้องทบทวนบันทึกรุ่นผลิตโดยผู้มีความรู้ประสบการณ์และได้รับการมอบหมายทำหน้าที่นี้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามกำหนดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค การเก็บรักษาเอกสารมีความสำคัญไม่ต่างกัน ต้องมีวิธีการเก็บรักษาให้ปลอดภัย และคงทนถาวรตลอดระยะเวลาที่เก็บตาม GMP เพื่อเป็นหลักฐานสืบย้อนกลับได้ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์
บันทึกรุ่นผลิต เป็นเอกสารบันทึกบนกระดาษ หรือ electronic batch record หรือผสมแบบบันทึกบนกระดาษรวมกับบันทึกแบบ อิเล็กทรอนิกส์ ( hybrid ) มีวิธีการควบคุมและบันทึกตามหลักการ data integrity เช่นเดียวกัน
วัตถุประสงค์
• เพื่อทราบ หลักการ และเข้าใจเกี่ยวกับ การออกแบบเอกสารการผลิต
• เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเอกสารการผลิตให้สอดคล้องตามหลัก GMP
• เพื่อสามารถประยุกต์ใช้หลักการ data integrity ในการบันทึกรุ่นผลิต ทั้งแบบกระดาษ หรือ อิเล็กทรอนิกส์ หรือแบบผสม
• พื่อทราบหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน เช่น ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ และฝ่ายผลิต ในการจัดทำ บันทึก ทบทวน รับรอง จัดเก็บ และการทำลาย เอกสารการผลิต
คำสำคัญ
batch record, batch processing record, batch packaging record, Good Documentation Practices, GDocP, data integrity
วิธีสมัครการประชุม
สมัครออนไลน์ได้ที่ http://tipa.or.th/tipa/register/ เภสัชกรที่เข้าสัมมนาและผ่านการทดสอบ จะได้รับ 2 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง ค่าลงทะเบียน : ฟรี สำหรับสมาชิกสมาคมฯ