ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 15 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การอบรมทางวิชาการสำหรับเภสัชกรชุมชน (webinar) เรื่อง Dysbiosis Impact on Women Health ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล และผลกระทบต่อสุขภาพของสตรี
ชื่อการประชุม การอบรมทางวิชาการสำหรับเภสัชกรชุมชน (webinar) เรื่อง Dysbiosis Impact on Women Health ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล และผลกระทบต่อสุขภาพของสตรี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-007-05-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 18 พ.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม กลุ่มเภสัชกร ดีเคเอสเอช
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรร้านยาและเภสัชกรที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สุขภาพของจุดซ่อนเร้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิง โดยการติดเชื้อที่ช่องคลอดพบอัตราการเกิดได้บ่อยในผู้หญิงทั่วโลก และร้านยาก็เป็นด่านแรก ที่ผู้หญิงที่มีปัญหาเหล่านี้จะเข้ามาปรึกษา และซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อบรรเทา รักษาอาการผิดปกติทางช่องคลอดต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในโรคที่พบบ่อยที่สุดในร้านยาเลยก็ว่าได้ ดังนั้นเภสัชกรชุมชน จึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของจุดซ่อนเร้น และการรักษารวมทั้งลดความเสี่ยงภาวะการติดเชื้อที่ช่องคลอด
สมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับสุขภาพของจุดซ่อนเร้น และความเสี่ยงในการติดเชื้อที่ช่องคลอด ดั้งนั้นโพรไบโอติกจึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้สมดุลจุลินทรีย์ในช่องคลอดเป็นปกติ ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆเภสัชกรชุนชนจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมดุลจุลินทรีย์ และการใช้โพรไบโอติก เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำกับผู้ป่วย ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยต่อไป
ทั้งนี้เภสัชกรชุมชมยังขาดความรู้ความใจอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาและแนวทางการรักษา ป้องกัน รวมถึงการให้คำแนะนำกับคนไข้ในการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการการดูแลสุขภาพของจุดซ่อนเร้นในร้านยา
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของจุดซ่อนเร้น และสมดุลจุลินทรีย์
2.2 เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ยาในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อที่ช่องคลอดได้อย่างเหมาะสม
2.3 เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้ Probiotics ในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อที่ช่องคลอดได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
-
วิธีสมัครการประชุม
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมในระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://www.pharm.chula.ac.th/ce) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย