ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 15/2564 เรื่อง การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานด้านเภสัชกรรมปฏิบัติ (Effective Cross-cultural Communication in Pharmacy Practice) รูปแบบ Onsite และ Online
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชกรรม ครั้งที่ 15/2564 เรื่อง การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานด้านเภสัชกรรมปฏิบัติ (Effective Cross-cultural Communication in Pharmacy Practice) รูปแบบ Onsite และ Online
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-017-05-2564
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 19 -21 พ.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน คณาจารย์ นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนผู้สนใจอื่น ๆ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 15 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในเอเชียโดย Global COVID-19 Index (GCI) ในด้านการฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเปรียบเทียบจาก 184 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างประเทศที่ต้องการเดินทางมาเยือน หรือย้ายถิ่นฐานมาพำนักในประเทศไทยหลังเกษียณอายุ ถือเป็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบทางการตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตามยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งกำลังมุ่งเป้าทำตลาดแบบเจาะจงกลุ่ม Health and Wellness โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการท่องเที่ยวร่วมกับการรักษา หรือ Medical Tourism
นอกจากนี้ในยุคที่แนวโน้มของ Aging society กำลังขยายประชากรทั่วโลก ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องความปลอดภัย ความมีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและอาหาร ความสวยงามของธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู ความมีน้ำใจเอื้ออาทรของคนไทยในการต้อนรับดูแลเกื้อกูลแขกผู้มาเยือน นอกจากนี้ข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพการบริการของโรงพยาบาล ความชำนาญการของบุคลากรทางการแพทย์ไทย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในมาตรฐานระดับสากลที่ประหยัดกว่าหากเทียบกับสหรัฐอเมริกาประมาณ 40-75% หรือสิงคโปร์ประมาณ 30% จึงถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญของประเทศไทยในการแข่งขันสู่ Medical Hub ระดับโลก
ดังนั้น ในการก้าวสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ทักษะและความสามารถในการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง จึงถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่ต้องก้าวสู่โลกแห่งอนาคตตามวิถี New Normal การตระหนักรู้ถึงหัวใจของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในงานด้านเภสัชกรรมปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างถูกต้อง ตลอดจนการมีมารยาทสากลที่ดีในการติดต่อสื่อสารทั้งแบบ verbal และ non-verbal ในบริบทสากล เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่มาเยือน หรือรับบริการในโรงพยาบาล หรือร้านยา ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และการพัฒนามาตรฐานการให้บริการทางเภสัชกรรมสู่ความเป็นสากลต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบหลักการ ตลอดจนมรรยาทสากลสำหรับการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อความกับผู้รับบริการชาวต่างประเทศที่มีพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาอย่างเป็นระบบด้วยความมั่นใจต่อไป
คำสำคัญ
Effective Cross, Cultural Communication, Pharmacy Practice
วิธีสมัครการประชุม
Online