ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการออนไลน์ (WEBINAR) เรื่อง Probiotic yeast: New area research on immunity
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการออนไลน์ (WEBINAR) เรื่อง Probiotic yeast: New area research on immunity
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-004-03-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 25 มี.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม กลุ่มเภสัชกร ดีเคเอสเอช
กลุ่มเป้าหมาย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โพรไบโอติกส์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งมีหลายแบบหลายสายพันธุ์ของเชื้อโพรไบโอติกส์ให้เลือกในท้องตลาด ทั้งที่จดทะเบียนเป็นยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การใช้โพรไบโอติกส์ในการรักษาอาการผิดปกติต่างๆต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในโพรไบโอติกส์แต่ละชนิด เนื่องจากสายพันธุ์ต่างกันก็จะให้ผลการรักษาที่ต่างกัน เภสัชกรชุมชนเป็นด่านแรกที่ผู้บริโภคจะเข้ามาปรึกษาและขอคำแนะนำถึงการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมถึงโพรไบโอติกส์ ดังนั้นเภสัชกรชุมชนจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ และการเลือกใช้โพรไบโอติกส์ให้เหมาะสมกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน
หากเภสัชกรชุมชนเข้าใจและสามารถเลือกใช้โพรไบโอติกส์ได้อย่างเหมาะสม จะสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งลดปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นต่อไป
ทั้งนี้เภสัชกรชุมชมยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้โพรไบโอติกส์อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยข้อมูลวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของโพรไบโอติกส์ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้โพรไบโอติกส์ ให้มีความรู้เป็นแนวทางการรักษา ป้องกัน รวมถึงการให้คำแนะนำกับคนไข้ในการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในร้านยา
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์
- เพื่อให้เภสัชกรปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ให้เป็นปัจจุบัน ผ่านงานวิจัยและการศึกษาต่างๆ
- เพื่อให้เภสัชกรสามารถเลือกใช้โพรไบโอติกส์ในการป้องกันและรักษาโรคได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (http://pharmce.weebly.com/)