การประชุมวิชาการ
ประชุมวิชาการโครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องเชื่อมต่อระหว่างร้านยากับโรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1
ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการโครงการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อเนื่องเชื่อมต่อระหว่างร้านยากับโรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 1
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-009-12-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม สำนักงานกลักประกันสุขาภแห่งชาติ เขต 2 พิษณุโลก
วันที่จัดการประชุม 10 ม.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในร้านยาในพื้นที่ใกล้เคียงมหาวิทยาลัยนเรศวร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เพื่อให้เภสัชกรชุมชนเป็นที่พึ่งพิงของประชาชนและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ สามารถรับรองความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นที่งานเภสัชกรรมชุมชนต้องมีความเป็นพลวัต ขณะเดียวกันเภสัชกรชุมชนต้องพัฒนาบทบาทการดูแลผู้ป่วยจากเชิงรับให้เป็นเภสัชกรประจำครอบครัวทำงานเชิงรุก โดยการผสมผสานทั้งการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย ครอบครัว ชุมชนของผู้ป่วย นวัตกรรมการบริการ ดังกล่าว เป็นแรงผลักให้เภสัชกรชุมชนต้องพัฒนาตนเองทั้งองค์ความรู้และทักษะในการจัดการด้านยาของผู้ป่วย ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยโดยองค์รวม แต่การพัฒนานี้ยังช่วยสร้างภาพพจน์ของความเป็นวิชาชีพ ก่อให้เกิดความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่เภสัชกรชุมชน นอกจากนี้ยัง
สามรถใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนามาตรฐานงานบริการเภสัชกรรมชุมชนต่อไป จึงมีความจำเป็นต้องมีหลักสูตรการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่่อพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรชุมอย่างต่อเนื่อง
เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมควบคุมยาสูบและสร้างเสริมสุขภาพภายใต้มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน ได้เห็นความสำคัญดังกล่าว ขึงจัดอบรมแนวทางการบริบาลเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้เภสัชกรได้มีความรู้ความเข้าใจและมี
ทักษะในการให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างจริงจัง ทางมูลนิธิเภสัชกรรมชุมชนร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงจัดทำโครงการ
อบรมการบริบาลทางเภสัชกรรมชุมชนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น
วัตถุประสงค์
1. มีแนวคิด และ ทักษะในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น
2. มีความรู้ทางเภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าว ในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
เภสัชกรชุมชน ร้านยา โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การบริบาลทางเภสัชกรรม
วิธีสมัครการประชุม
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร.055-302093