การประชุมวิชาการ
งานประชุม ADCoPT Webinar Series 2021: PGX and Its Application for ADR Prevention เรื่อง "แนวทางปฏิบัติการตรวจยีน HLA-B*1502 เพื่อป้องกันการแพ้ยา carbamazepine"
ชื่อการประชุม งานประชุม ADCoPT Webinar Series 2021: PGX and Its Application for ADR Prevention เรื่อง "แนวทางปฏิบัติการตรวจยีน HLA-B*1502 เพื่อป้องกันการแพ้ยา carbamazepine"
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-002-01-2564
สถานที่จัดการประชุม Webinar
วันที่จัดการประชุม 26 ม.ค. 2564
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล ,เภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 1.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
Carbamazepine เป็นยารักษาโรคลมชักและมีประสิทธิภาพดีในการรักษา trigeminal neuralgia ในขณะที่ Allopurinol เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีและมีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง โรคเก๊าต์ หรือเพื่อป้องกันการเกิด tumor lysis syndrome (TLS) แต่อย่างไรก็ตามยาทั้ง 2 ชนิดก็สามารถทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังได้ทั้งแบบไม่รุนแรง เช่น ผื่นแบบ maculopapular eruption (MPE) และแบบรุนแรง (severe cutaneous drug eruption: CADR) เช่น Stevens-Johnson syndrome (SJS), toxic epidermal necrolysis (TEN), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms ( DRESS) หรือ drug hypersensitivitysyndrome (DHS) แ ล ะ acute generalized exanthematous pustulosis
(AGEP) ซึ่งอาการที่ร้ายแรงเหล่านี้อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ จากการศึกษาพบงานวิจัยหลายฉบับที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางพันธุกรรมของกลุ่มยีนส์ human leukocyte antigen (HLA-B) ที่สัมพันธ์กับการแพ้ยาทั้ง 2 ชนิด โดยพบว่ากลุ่มยีนส์ อัลลีล HLA-B*58:01 สัมพันธ์กับการเกิด SJS-TEN, DRESS และ MPE จากยา allopurinol ในผู้ป่วยคนไทย โดยพบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 579, 430 และ 144 เท่า ตามลำดับ และจากการศึกษาพบว่าประชากรไทยร้อยละ 16.33 มี HLA-B*58:01 อัลลีลอยู่ ทำให้โอกาสในการเกิดปัญหาแพ้ยาจากการใช้ allopurinol นั้นอาจเกิดขึ้นได้บ่อย ในขณะที่พบว่าการแพ้ยา carbamazepine ทางผิวหนังมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางพันธุกรรมของกลุ่มยีนส์ อัลลีล HLA-B*15:02 โดยข้อมูลงานวิจัยทางพันธุ-ศาสตร์ในประชากรไทยพบความชุกของยีน HLA-B*15:02 ได้ตั้งแต่ร้อยละ 7.33-164 ขึ้นกับภูมิภาคที่ทำการตรวจ พร้อมกันนี้ยังพบความสัมพันธ์ของลักษณะการแปรผันของยีน HLA-B กับการแพ้ยา carbamazepine อีกด้วย กล่าวคือ ผู้ที่มีอัลลีลของยีน HLA-B ชนิด *15:02 (HLA-B*15:02) จะมีความเสี่ยงต่อการเกิด SJS/TEN ได้สูงกว่าผู้ที่ไม่มีอัลลีลดังกล่าว ได้ถึง 55 เท่า ดังนั้นการตรวจคัดกรอง HLA-B*15:02 และ HLA-B*58:01 จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยตัดสินใจใช้ยา carbamazepine และ allopurinol ตามลำดับ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้ยาโดยเฉพาะชนิดที่รุนแรง (SJS/TEN) รวมถึงมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อีกด้วย
ปัจจุบันการตรวจคัดกรอง HLA-B*15:02 และ HLA-B*58:01 สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเริ่มการรักษาด้วยยา carbamazepine และ allopurinol ตามลำดับ ในทุกข้อบ่งใช้เพื่อป้องกันการแพ้ย าจึงมีความสำคัญยิ่ง ปการตรวจยีนส์กลุ่มอัลลีลเหล่านี้ ได้ถูกบรรจุอยู่ในประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข ที่ผู้รับบริการมีสิทธิจะได้รับตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีผลครอบคลุมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2561 เป็นต้นมา สำหรับยา carbamazepine รวมทั้งผู้ป่วยสิทธิข้าราชการก็สามารถเบิกจ่ายค่าตรวจดังกล่าวได้ทั้ง 2 กลุ่มยีนส์เช่นกัน
เนื่องจากแนวทางการตรวจลักษณะทางพันธุกรรมดังกล่าวในปัจจุบันนับเป็นเรื่องใหม่ การคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจ การแปลผลการตรวจ ตลอดจนการจัดการผู้ป่วยภายหลังผลการตรวจอย่างถูกต้องจึงนับว่ามีความสำคัญยิ่ง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับเภสัชกรในเรื่อง พื้นฐานเภสัชพันธุศาสตร์ และการประยุกต์ใช้
2.เพื่อนำเสนอแนวทางในการตรวจยีน HLA-B*1502 เพื่อป้องกันการแพ้ยา carbamazepine และแนวทางปฏิบัติการตรวจยีน HLA-B*5801 เพื่อป้องกันการแพ้ยา allopurinol ที่ถูกต้อง

คำสำคัญ
ADCoPT, ADR, Carbamazepine, trigeminal neuralgia, allopurinol, HLA-B*1502, HLA-B*5801, อาการไม่พึงประสงค์
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ที่ www.thaihp.org โดยผู้สมัครลงทะเบียนจะต้องเข้าฟังตามที่กำหนด และทำแบบทดสอบหลังการประชุมจนจบภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 70% จึงจะได้รับหน่วยกิต CPE 1.5 หน่วย