การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการ เภสัชบำบัดผู้สูงอายุในเขตเมือง(Geriatric pharmacotherapy in urban population)
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ เภสัชบำบัดผู้สูงอายุในเขตเมือง(Geriatric pharmacotherapy in urban population)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-034-11-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 28 พ.ย. 2563
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลวชิรพยาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมเป็นข้าราชการระดับปฏิบัติงาน ถึง เชี่ยวชาญ และพนักงานมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และบ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี2560 ประชากรไทยมีจานวน 67.6 ล้านคน มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มอัตราของผู้สูงอายุ หมายถึง อัตราส่วน ของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งสิ้น 100 คน จะพบว่า เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (จากร้อยละ 6.8 ในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 10.7 ในปี 2550 ร้อยละ 12.2 ในปี 2554 ร้อยละ 14.9 ในปี 2557 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.7 ในปี 2560) อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย (Aging Society) การเป็นสังคมสูงวัย คือ การที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น (ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด) โดยคาดว่า ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในปี 2563 มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ 12 ล้านคน (ร้อยละ 18) จะเพิ่มเป็น 20.42 ล้านคน (ร้อยละ 31.28) ในปี 2583 โดยในปี 2562 เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรวัยเด็กเท่ากับประชากรผู้สูงอายุที่ 11.3 ล้านคน หลังจากนั้นจำนวนประชากรวัยเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุมาโดยตลอด ส่งผลให้ปัจจุบัน มีผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลซึ่งเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่มีจุดเน้นเรื่องการดูแลด้านสุขภาพโรคเขตเมือง ดังนั้น ฝ่ายเภสัชกรรมจึงมุ่งส่งเสริมสมรรถนะบุคลากรในองค์กรและในกรุงเทพมหานครเรื่องการใช้ยาในการบำบัดรักษาโรคเขตเมือง โดยหนึ่งในโรคที่พบบ่อยของผู้สูงอายุ คือโรคทางระบบประสาทและสมอง รวมถึงโรคทางด้านจิตเวชซึ่งอาจเป็นโรคพื้นฐานที่ส่งผลกระทบต่อโรคเรื้อรังอื่น ๆ ของผู้สูงอายุ และยังเป็นโรคที่มีความซับซ้อน การใช้ยารักษาก็อาจส่งผลแทรกซ้อนต่อผู้สูงอายุอีกด้วย ดังนั้น ฝ่ายเภสัชกรรมเห็นความสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้เฉพาะด้านการบำบัดรักษาและการจัดการกับผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษาโรคดังกล่าว จึงได้จัดการประชุมวิชาการโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้สูงอายุกลุ่มโรคดังกล่าว เพื่อเสริมสมรรถนะด้านความรู้ของบุคลากรเภสัชกรในฝ่ายเภสัชกรรม และ บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานและพัฒนางานในองค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านโรคและยาที่ใช้บ่อยของผู้สูงอายุในเขตเมือง
2.2 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้วิชาการด้านการใช้ยาในผู้สูงอายุในปัจจุบัน
2.3 เป็นการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรเภสัชกรในหน่วยงาน กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิชาการ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
สมัครลงทะเบียน ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScNq2Fjjt0LNGrtIGbAjx-Jq27xhJBVRgPv1gKLfjItn_eyJA/viewform สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ หน่วยเภสัชสนเทศ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โทร 022443140