การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมการควบคุมสารตั้งต้นและการใช้วัตถุเสพติดทางการแพทย์ และกัญชาทางการแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อการประชุม โครงการอบรมการควบคุมสารตั้งต้นและการใช้วัตถุเสพติดทางการแพทย์ และกัญชาทางการแพทย์ จังหวัดอุบลราชธานี
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-021-09-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สำนักงานเขตสุขภาพที่ 10 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่จัดการประชุม 28 ก.ย. 2563
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้รับผิดชอบงานวัตถุเสพติดทางการแพทย์และกัญชาทางการแพทย์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/ โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป/ชุมชน/โรงพยาบาลเอกชน จังหวัดอุบลร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ได้รับการปกป้องพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาและอาหารอย่างถูกต้องนั้น กองควบคุมวัตถุเสพติดได้มีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคในแง่ของการให้การบริการ การกำหนดปริมาณอนุญาตการครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ซึ่งต้องผ่านกระบวนการพิจารณาการให้อนุญาตจำนวน ที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันในเบื้องต้น รวมถึงเป็นผู้ตรวจสอบและกำกับดูแลการใช้วัตถุออกฤทธิ์ ในทางการแพทย์ แต่ทั้งนี้การให้ความร่วมมือในส่วนของผู้ได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่าง สมเหตุผล ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการรักษา
นอกจากนี้ผู้ได้รับอนุญาตฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับจ่ายวัตถุออกฤทธิ์และเสนอรายงาน ให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาทราบเป็นรายเดือนและรายปีตามกฎหมายที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๕๙ โดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามมาตรา ๑๒๘ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท และอาจถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้โดยมีกำหนดครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่สถานการณ์ปัจจุบันในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่ายังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้ได้รับอนุญาตฯ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ไม่ส่งรายงานการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ส่งรายงานไม่ถูกต้อง ลักลอบจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ผิดกฎหมาย
การจัดทำรายงานเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดในปัจจุบัน ยังใช้วิธีการจัดทำที่ลงรายละเอียดในรายงานที่แตกต่างกันในแต่ละแห่ง ทำให้การทำงานยังขาดมาตรฐานในการตรวจสอบไปในแนวทางหรือมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ การจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ด้านวัตถุเสพติดในสถานพยาบาลได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวว่าการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งก่อให้เกิดการรั่วไหลของวัตถุเสพติดออกนอกระบบอาจเกิดเนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมาย ในการจัดอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถ นําเนื้อหาการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฏหมาย ดังนั้นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีจึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อให้ความรู้กับผู้ขอรับใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จังหวัดอุบลราชธานี โดยจะเน้นการประชุมอบรม เชิงปฏิบัติงานและฝึกปฏิบัติมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการควบคุมยาวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันการรั่วไหลออกสู่นอกระบบการควบคุม
วัตถุประสงค์
๑ เพื่อให้ผู้รับอนุญาตที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ได้รับครอบครองหรือ
ใช้ประโยชน์วัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติด ได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน
๒ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการเฝ้าระวังการนำวัตถุเสพติดและสารตั้งต้นในทางการแพทย์ไปใช้นอกระบบการควบคุม
๓ เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติการเกี่ยวกับควบคุมการใช้ และ การจัดทำรายงาน ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ เป็นมาตรฐานเดียวกันในสถานพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ