ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการส่งเสริมความรู้ควบคู่ร้านขายยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง Review in “Common GI Problem” ในร้านขายยา
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการส่งเสริมความรู้ควบคู่ร้านขายยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง Review in “Common GI Problem” ในร้านขายยา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-007-10-2563
สถานที่จัดการประชุม ห้อง Sukhumvit Grand Ballroom ชั้น 3 JW Marriott Hotel Bangkok
วันที่จัดการประชุม 04 ต.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรร้านขายยาและเจ้าของร้านขายยาในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัด ประมาณ 200 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคทางระบบทางเดินอาหารเป็นปัญหาสำคัญ ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทางสาธารณสุขในทุกระดับตั้งแต่ระดับร้านขายยา คลินิก จนถึงโรงพยาบาลระดับต่างๆ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก การให้บริการให้การรักษาและแนะนำเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยในเบื้องต้น นั้นมีความจำเป็นและสำคัญ ในการแบ่งเบาภาระทางสาธารณสุขของประเทศ
ดังนั้นผู้ประกอบการร้านขายยาจึงความจำเป็นต้องมีความรู้เบื้องต้นเดี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน ภาวะปวดท้อง dyspepsia โรคกระเพาะอาหาร ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS ในแง่มุมต่างๆได้แก่ การวินิจฉัยเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วยเพื่อคัดกรองว่าต้องส่งต่อถึงแพทย์หรือไม่ แนวทางการรักษาตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปจนถึงการรักษาด้วยยา และการแนะนำผู้ป่วยในร้านขายยา
ซึ่งเนื้อหางานประชุมจะประกอบด้วย
1. การบรรยายความรู้พื้นฐานของแต่ละโรคในระบบทางเดินอาหารโดยวิทยากร
2. การยกเคสตัวอย่างผู้ป่วยโดยวิทยากร
3. ตอบคำถามโดยวิทยากร
วัตถุประสงค์
1. ได้ทราบถึงกลุ่มโรคและอาการของโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้ในร้านขายยา
2. มีความเข้าใจถึงสัญญาณอันตรายสำคัญของโรคระบบทางเดินอาหารและตับที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อถึงแพทย์
3. ได้ทราบถึงการดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร และให้คำแนะนำในการปฎิบัติตัวเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมได้
คำสำคัญ
โรคกรดไหลย้อน GERD, โรคกระเพาะอาหาร, ภาวะปวดท้อง dyspepsia, ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS