การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ หัวข้อ "Oncology Pharmacotherapy 2020" ครั้งที่ 7 Leukemias (CLL, CML)
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ หัวข้อ "Oncology Pharmacotherapy 2020" ครั้งที่ 7 Leukemias (CLL, CML)
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-027-10-2563
สถานที่จัดการประชุม Meeting Room อาคาร BIC, Floor 21st โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
วันที่จัดการประชุม 14 -15 ต.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรประจำหน่วยเคมีบำบัดเตรียมผสมยาปราศจากเชื้อ และเภสัชกรอื่นๆ พยาบาลมะเร็งวิทยา นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำนวน 15 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายใน 5 อันดับแรกของโลก และเป็นเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็งมีวิธีรักษาโดยทั่วไป ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดและยาพุ่งเป้า และมีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองหรือมีข้อบ่งชี้ในการรักษา เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นต้น ยาเคมีบำบัดจัดเป็นกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงหรือ High alert drugs เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อผู้ป่วยมากแม้จะใช้ในขนาดรักษา ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ดังนั้นการใช้ยาเคมีบำบัดในรูปแบบรับประทานจำเป็นต้องมีเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพที่จะได้รับ ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาเพื่อให้ได้รับประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุดในการรักษา บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแต่การเตรียมยาเคมีบำบัดด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ แต่ยังเป็นการร่วมให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับของสหสาขาวิชาชีพมากยิ่งขึ้น
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนล เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งรองรับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยรับผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ย 75 คนต่อวัน และรับผู้ป่วยในเฉลี่ย 30 คนต่อวันให้การดูแลและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary care) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา พยาบาล เภสัชกร นักกำหนดอาหาร นักกายภาพบำบัด และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง
ฝ่ายเภสัชกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการอบรม เพิ่มพูนความรู้และทักษะในความรู้ทางเภสัชบำบัดด้านโรคมะเร็งสำหรับเภสัชกรในทุกๆ ปี เพื่อให้เภสัชกรสามารถเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง มาตรฐานการรักษาในปัจจุบัน ทั้งการให้ยาเคมีบำบัดและยาที่ออกฤทธิ์พุ่งเป้า เสริมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน สามารถที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชบำบัด นำไปสู่การทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วยสูงสุด
วัตถุประสงค์
1. ห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการประเมินผลการรักษาและการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ ที่พบได้บ่อยได้แก่ มะเร็งนรีเวชวิทยา (รังไข่ มดลูกและปากมดลูก) มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มะเร็งเม็ดเลือดขาว (CML, CLL), มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ
2. สามารถบอกถึงการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมของโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ (โดยเฉพาะยาที่เพิ่งได้รับการอนุมัติจาก US FDA 2018-2020)
3. สามารถบอกถึงปัญหาในการใช้ยา (Drug related problems, DRPs) และแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหา (Supportive Cares) รวมทั้งการให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยารักษาโรคมะเร็งและมีผลเสียน้อยที่สุด
4. สามารถให้คำแนะนำเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือคำแนะนาสำหรับการคัดกรองโรคมะเร็งได้
คำสำคัญ
Genetic markers/ Cytogenetic mutations Etiology/Pathogenesis
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยแจ้งผ่านผู้จัดการแผนกเภสัชกรรม หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ภก.นิรชร คูชลธารา ฝ่ายเภสัชกรรม โทร. 0-2011-4980, 0817991421 e-mail: nirachorn@bumrungrad.com (รับจำนวน 5 ท่าน )