การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการพัฒนาระบบงานเภสัชกรรม เขตสุขภาพที่ ๔
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการพัฒนาระบบงานเภสัชกรรม เขตสุขภาพที่ ๔
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รหัสกิจกรรม 1006-2-000-023-08-2563
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี
วันที่จัดการประชุม 07 ส.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เขตสุขภาพที่ ๔ จำนวนประมาณ ๗๐ คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ระบบการบริหารจัดการด้านยาหรือระบบยา เป็นระบบที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ เภสัชกรจึงเป็นวิชาชีพหลักที่สำคัญร่วมกับแพทย์และพยาบาลในการผลักดันให้เกิดระบบการบริหารจัดการด้านยาที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และผู้รับบริการปลอดภัย เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบในวิชาชีพของตนเองอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะเรื่องความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย แต่ต้องครอบคลุมถึงการติดตามนโยบายใหม่ๆจากส่วนกลาง และกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้วย
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากทางด้านการรักษาพยาบาลทำให้แนวทางการรักษาโรคต่างๆและการใช้ยามีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรมทำให้มีตัวยา รูปแบบยา และความรู้เกี่ยวกับยาเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่เภสัชกรจะต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัย และมีการพัฒนางานเภสัชกรรมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการบริหารจัดการระบบยาให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และผู้รับบริการปลอดภัย เภสัชกรต้องสามารถบูรณาการร่วมกันระหว่างความรู้ทางวิชาการ ทักษะการบริหารคน และทักษะการบริหารจัดการเชิงระบบ มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล จัดทำโดย สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้กล่าวไว้ว่า “เภสัชกรจะต้องไม่เพียงแต่จัดให้มีบริการต่างๆด้านเภสัชกรรมเท่านั้น แต่จะต้องให้ความสำคัญและสนใจต่อผลลัพธ์ของการให้บริการและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในภาพรวมด้วย”
ปัจจุบันมีนโยบายใหม่ๆทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขจากส่วนกลางหลายเรื่อง ประกอบกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมถึงกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานเภสัชกรรม ส่งผลให้เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต้องมีการปรับบทบาทหน้าที่หลายอย่าง และต้องมีการพัฒนางานเภสัชกรรมด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการตามนโยบายจากส่วนกลางได้ และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎระเบียบต่างๆ โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่อยู่ในเขตสุขภาพที่ ๔ จึงมีผลงานหลายเรื่องที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการพัฒนาระบบเภสัชกรรม เขตสุขภาพที่ ๔ (Chief Pharmacy Officer; CPO) ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรม จึงได้จัดทำโครงการประชุมวิชาการพัฒนาระบบงานเภสัชกรรม เขตสุขภาพที่ ๔ โดยหวังว่าโครงการนี้จะมีประโยชน์และช่วยให้สามารถนำองค์ความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัย และตัวอย่างการพัฒนางานเภสัชกรรมด้านต่างๆ รวมถึงประสบการณ์ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานประชุมครั้งนี้ ไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้และพัฒนางานที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรม ได้รับความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยเรื่องแนวทางการใช้ยาในการรักษาโรคเรื้อรัง
๒. เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรม ได้มีโอกาสมานำเสนอผลงานการพัฒนางานเภสัชกรรมด้านต่างๆ ใน ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านงานบริหารเวชภัณฑ์, ด้านงานบริการ, ด้านงานผลิต, ด้านงานความปลอดภัยด้านยา และด้านงานคุ้มครองผู้บริโภค
๓. เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรม ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนางาน
๔. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดี และการทำงานร่วมกันเป็นทีมของเภสัชกรและบุคลากรที่อยู่ในสายงานเภสัชกรรม เขตสุขภาพที่ ๔ รวมถึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.พระนั่่งเกล้า