ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบและควบคุมกำกับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2563
ชื่อการประชุม |
 |
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบและควบคุมกำกับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2563 |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รหัสกิจกรรม |
 |
1005-2-000-024-07-2563 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
ณ ห้องประชุมตึกเก่า ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น |
วันที่จัดการประชุม |
 |
02 ก.ค. 2563 - 25 ก.ย. 2563 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดขอนแก่น จำนวนประมาณ 50 คน |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
18.25 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ปัญหาข้อร้องเรียนผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ ยา อาหาร เครื่องสำอาง สถานพยาบาล สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ที่ไม่ได้มาตรฐาน มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากรายงานผลการรับเรื่องร้องเรียนของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเปิดเผยสถิติเรื่องร้องเรียน ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน 2562 โดย ทางมูลนิธิฯ และเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค ได้ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนจำนวน 3,245 เรื่อง เรื่องที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คือเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ ยา ปัญหาดังกล่าวมีความสลับซับซ้อน เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า การรับมือกับปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ “การคิดเชิงระบบ” (Systems thinking) ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นจึงได้จัดประชุมพัฒนาศักยภาพเภสัชกรซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมกำกับและส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ยาและอาหารที่ปลอดภัย ซึ่งการจัดการเภสัชกรรมเป็นระบบหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ ย่อมหนีไม่พ้นไปจากความซับซ้อนอันเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบอื่นๆ หรือแม้แต่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในระบบเดียวกัน เภสัชกรเป็นทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบย่อยนี้ ย่อมมีส่วนสำคัญในการจัดการระบบให้สามารถตอบสนองเป้าหมายในการดูแลการใช้ยาของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเภสัชกรให้มีแนวคิดและวิธีการคิดเชิงระบบ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานและพัฒนาการจัดการเภสัชกรรมในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. มีความรู้ความเข้าใจถึง ความหมาย และแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงระบบ
2. ฝึกใช้เครื่องมือสนับสนุนการคิดเชิงระบบในงานการจัดการเภสัชกรรมเบื้องต้น
คำสำคัญ
การพัฒนาระบบ, การควบคุมกำกับ, ความปลอดภัยในการบริโภค, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ