การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ในเขตสุขภาพที่ ๒
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ ในเขตสุขภาพที่ ๒
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
รหัสกิจกรรม 1007-2-000-003-02-2563
สถานที่จัดการประชุม
วันที่จัดการประชุม 28 ก.พ. 2563
ผู้จัดการประชุม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง ในเขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 7.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหัวใจเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญระดับประเทศ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตกะทันหันได้ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เช่นการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography : CTA) ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถประเมินการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจรวมทั้งนำมาใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ การทำ Cardiac imaging เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งการวินิจฉัยดังกล่าวมีการรุกล้ำร่างกายผู้ป่วยลดลง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์เริ่มมีการการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 และเริ่มทำ Cardiac imaging ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 จนถึงปัจจุบัน การวินิจฉัยส่วนใหญ่เป็นการให้บริการในเขตสุขภาพที่ ๒ผลการทำการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ถึงเดือนเมษายน 2562 มีผู้รับบริการจำนวน 266 ราย และการทำ Cardiac imaging ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2562 มีผู้รับบริการจำนวน 113 ราย
จากความก้าวหน้าในการรักษาโรคหัวใจข้างต้นทำให้อัตราตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง ผู้ป่วยที่รอดชีวิตเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีภาวะหัวใจล้มเหลว (Chronic heart failure) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอัตราตายสูงและมีโอกาสที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อย ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น(สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย,2557) จากปัญหาดังกล่าวคณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับเครือข่ายสาขาโรคหัวใจ เขตสุขภาพ ที่ 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมบุคลากรให้มีความรู้และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และ มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1.เพิ่มความรู้ของบุคลากรในเครือข่ายให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
2.เพื่อให้บุคลากรในเครือข่ายเข้าใจระบบการส่งต่อสามารถส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อให้โรงพยาบาลในเครือข่ายมีการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
คำสำคัญ
โรคหัวใจ Chronic heart failure
วิธีสมัครการประชุม
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานเภสัชกรรม โทร 0 5583 0708 ต่อ 3101, 1124 โทรสาร 0 5583 0783