การประชุมวิชาการ
PRACTICAL PROJECT MANAGEMENT IN PHARMA & BIO-PHARMA INDUSTRY
ชื่อการประชุม PRACTICAL PROJECT MANAGEMENT IN PHARMA & BIO-PHARMA INDUSTRY
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2004-2-000-002-02-2563
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม แอมบาสซาเดอร์ ซอยสุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 19 -20 ก.พ. 2563
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรอุตสาหการ (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการในสถานที่ผลิตยา เช่น ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายตรวจสอบความถูกต้อง ฝ่ายว
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในอุตสาหกรรมยา และชีววัตถุ เริ่มมีการนำการบริหารโครงการ หรือ Project Management มาใช้ โดยโครงการต่างๆ ในอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุนั้นจำเป็นต้องอาศัยการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ Technology Transfer มาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการนำพาให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ซึ่งทั้ง Project Management และ Technology Transfer เป็นศาสตร์วิชามาตรฐานที่ต้องมีการเรียนรู้อย่างถูกต้องเพื่อยกระดับความความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่เดิมอาจจะทำงานโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงไม่ได้เรียนรู้จากศาสตร์วิชามาตรฐาน ดังนั้นอาจจะบริหารโครงการโดยไม่ได้ศักยภาพเท่าที่ควรจะเป็น หรือแก้ปัญหาอย่างไม่เป็นระบบก็เป็นได้
การบริหารโครงการ ในอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุ ที่ถูกต้องนอกจากจะคำนึงถึงเรื่องของประสิทธิผลและประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดในส่วนของ Good Manufacturing Practice (GMP) อีกด้วย เนื่องจากผลของโครงการเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนออกสู่ตลาด การสร้างสถานที่ผลิตยา การปรับปรุงสถานที่ผลิตยา การจัดหาเครื่องจักร หรือเครื่องมือ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆอาจกระทบกับความปลอดภัยของประชาชนผู้บริโภค ดังนั้นการบริหารโครงการจึงควรต้องดำเนินไปตามศาสตร์วิชามาตรฐานด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ และต้องประกอบกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ถูกต้อง ซึ่งแต่เดิมเข้าใจกันว่าใช้เฉพาะกระบวนการทำส่วนวิจัยและพัฒนาไปสู่ส่วนผลิตเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วการถ่ายทอดเทคโนโลยีควรต้องนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทุกประเภทในอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุไม่ว่าจะเป็น การย้ายสถานที่ผลิต การขยายส่วนผลิต การรับจ้างผลิต เป็นต้น
ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ผู้เข้าประชุมจะได้เรียนรู้การวางแผนการบริหารจัดการโครงการ (Project Management) ที่ดี ปัจจัยที่ทำให้การบริหารจัดการโครงการประสบความสำเร็จ การรวบรวมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) อย่างเป็นระบบ การนำเรื่องการของประเมินความเสี่ยงและหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการโครงการ รวมถึงได้เรียนรู้ และทราบข้อมูลกฎระเบียบต่างๆ มุมมองและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการบริหารจัดการโครงการ และที่สำคัญได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์บริหารโครงการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้บริหารของสถานที่ผลิตยาและชีววัตถุชั้นนำในเรื่องการย้ายสถานที่ผลิตทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากส่วนวิจัยและพัฒนาไปสู่ส่วนผลิต การย้ายผลิตภัณฑ์ทั้งยาและชีววัตถุจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนี่ง
วัตถุประสงค์
• บริบทในการบริหารจัดการโครงการของอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุ
• การวางแผนในการบริหารจัดการโครงการ และปัจจัยที่ทำให้การบริหารจัดการโครงการของอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุประสบความสำเร็จ
• กฎระเบียบ และมุมมองของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการบริหารจัดการโครงการในอุตสาหกรรมยาและชีววัตถุ
• การบริหารจัดการโครงการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาและชีววัตถุ รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) ระหว่างทีมวิจัยและพัฒนาไปสู่ทีมผลิต จากทีมผลิตและควบคุมคุณภาพที่หนี่งไปยังอีกที่หนึ่ง
• ได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จริงในการบริหารโครงการจากผู้บริหารของสถานที่ผลิตยาและชีววัตถุชั้นนำ
คำสำคัญ
project management, technology transfer
วิธีสมัครการประชุม
1. Online Registration Browse website http://ispeth.org/ISPEThailandEvent1-2020 , fill-in delegate details and click submit 2. Confirmation ISPE staff will confirm your registration status via email. If not receive email within 2 working days after submitted the form, please contact our staff. 3. Payment Make a payment to reserve your seats and capture/ scan transferred evidents i.e. payslip to email REGISTER@ISPETH.ORG REGISTRATION CLOSES ON 16 FEBRUARY 2020 OR WHEN ALL SEATS ARE FULLY RESERVED. FIND OUT MORE INFO & CONTACT US: WWW.ISPETH.ORG EMAIL: REGISTER@ISPETH.ORG T: +6688-090-4664 ค่าลงทะเบียน (Registration Fee) สมาชิก ISPE / TIPA คนละ 4,000 บาท ไม่ใช่สมาชิก คนละ 6,000 บาท