การประชุมวิชาการ
Update in Ambulatory Pharmacotherapy 2019 ครั้งที่ 2
ชื่อการประชุม Update in Ambulatory Pharmacotherapy 2019 ครั้งที่ 2
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รหัสกิจกรรม 1017-2-000-002-01-2563
สถานที่จัดการประชุม Meeting Room 4 BIC 21st FL Meeting Room 2 BIC 21st FL โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
วันที่จัดการประชุม 14 -15 ม.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร ฝ่ายเภสัชกรรม แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก แผนกเภสัชกรรมคลินิก ภายในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือเภสัชกรที่สนใจ จำนวน 40-45 ท่าน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) วัยสูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพต่างๆ ส่วนใหญ่มักมีมากกว่า 1 ปัญหา และมักเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน โดยปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มโรคเรื้อรังทั่วไปที่อาจพบได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 60 ปี มีสาเหตุจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ โรคหัวใจ โรคตับอักเสบ เป็นต้น และกลุ่มโรคเฉพาะที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกายและอวัยวะภายในต่างๆ ตามอายุที่มากขึ้น ได้แก่ โรคสมองเสื่อม โรคกระดูกข้อเสื่อม เป็นต้น

กลุ่มเภสัชกรแผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกเป็นบุคลากรหลักที่ต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเมื่อมารับยา การเรียนรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทั้งเรื่องโรค และการบำบัดรักษาด้วยยา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงวิทยาการทางการแพทย์ และการผลิตยากลุ่มใหม่ ๆ ออกสู่ท้องตลาด จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วยในแง่ของการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา เช่น ความไม่ร่วมมือในการรักษา อาการข้างเคียงจากการใช้ยา อันตรกิริยาระหว่างยา เป็นที่มาของการจัดอบรมหลักสูตร Update Ambulatory Pharmacotherapy 2019
วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางอายุรกรรมต่างๆ ได้แก่ Elderly pharmacotherapy, Dementia, Depression, Coronary Heart Disease, Atrial
Fibrillation, HIV, TB, Viral Hepatitis และ Osteoporosis
2.เข้าใจหลักการดูแลผู้ป่วย เป้าหมายและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติโดยใช้ Clinical Practice Guidelines ในโรคเฉพาะต่างๆ ได้
3.เข้าใจหลักการรักษาด้วยยา กลไกการออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง การแก้ไขผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยยาในโรคเฉพาะได้
4.สามารถระบุปัญหาหรือสืบค้นปัญหาจากการใช้ยาในโรคเฉพาะได้
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยแจ้งผ่านผู้จัดการแผนกเภสัชกรรม หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ ภญ. วารี จตุรภัทรพงศ์ แผนกเภสัชกรรมคลินิก โทร. 0-2011-3242, 087-5097446