การประชุมวิชาการ
โครงการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเภสัชกรร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยสอดแทรกงานสร้างเสริมสุขภาพในร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ชื่อการประชุม โครงการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเภสัชกรร้อยแก่นสารสินธุ์ โดยสอดแทรกงานสร้างเสริมสุขภาพในร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสกิจกรรม 1009-2-000-003-01-2563
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมราชาวดีรีสอร์ทแอนด์โฮเทล จังหวัดขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 19 ม.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
NCD ย่อมาจาก Non Communicable Disease หรือโรคไม่ติดต่อ โรคที่มาจากพฤติกรรมชีวิตที่ไม่ดี เช่น โรคความ
ดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคที่เกิดจากบุหรี่ โรคที่เกิดจากการ
ดื่มสุรา โรคเบาหวาน ฯลฯ รายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี ค .ศ.2008 จากยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดในปีนั้น 57 ล้านคน
ปรากฏว่า 36 ล้านคน หรือ 63% เกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อ อันดับหนึ่ง คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (48% หรือ 17.28 ล้านคน)
โรคมะเร็ง (21% หรือ 7.6 ล้านคน) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (12% หรือ 4.2 ล้านคน) และโรคเบาหวาน (ที่เป็นสาเหตุ
โดยตรง 3.5% หรือ 1.3 ล้านคน) ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย รับประทาน
อาหารที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป มากกว่า 9 ล้านคนที่เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อมีอายุน้อยกว่า 60 ปี (วัย
ท างานหารายได้ให้ครอบครัว) และ 90% ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง โรคหลอดเลือดหัวใจ
มะเร็ง ระบบหายใจเรื้อรัง และเบาหวาน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 80% ปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ 4 ประการ คือ
สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และอาหารที่ไม่ดี ต่อสุขภาพ ซึ่งถือได้ว่าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยง ที่
จะนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองและโรคอื่นๆตามมา เภสัชกรเป็นวิชาชีพที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเภสัชกรในร้านยา ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกรับบริการทางสุขภาพเบื้องต้นที่ร้าน ยาใกล้ชุมชนของตนเอง
หากเภสัชกรร้านยา สามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังดังกล่าวได้ดี และสามารถช่วยลดปัจจัย
เสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าวได้ ก็จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากโรคดังกล่าวได้อย่างมหาศาล ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับ เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบจึงจัดประชุม
โครงการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเภสัชกรร้อยแก่นสารสินธุ์ เพื่อนำร้านยาเป็นหน่วยร่วมบริการในหลักประกัน
สุขภาพขึ้น เพื่อระดมสมองหาแนวทางในการพัฒนาร้านยาที่จะเป็นหน่วยร่วมบริการมีการสอดแทรกการให้บริการสร้างเสริม
สุขภาพและควบคุมยาสูบไปในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อร่วมระดมสมองสร้างความร่วมมือในการท างานสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยโรคไม่
ติดต่อเรื้อรัง ในการเป็นหน่วยร่วมบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2. เพื่อร่วมแก้ปัญหาการทำงานที่ผ่านมาของวิชาชีพเภสัชกรรมในส่วนต่างๆ
3. สร้างแนวทางการทำงานสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมยาสูบ ที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ร้านยา หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ