การประชุมวิชาการ
โครงการการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์โดยเครือข่าย 7 สถาบัน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 เรื่อง “Quality living in Advanced Years”
ชื่อการประชุม โครงการการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์โดยเครือข่าย 7 สถาบัน ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 เรื่อง “Quality living in Advanced Years”
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-004-02-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 16 ก.พ. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในโรงพยาบาลและร้านขายยา ในเขตภาคเหนือ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และ สาธารณสุข ส่งผลให้ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อบุคคลก้าวเข้าสู่ภาวะสูงวัย ร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ และประชากรสูงอายุจึงจัดให้เป็นประชากรกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพซึ่งโดยมากเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ
การส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีถือเป็นภารกิจหลักของเภสัชกรซึ่งเป็นบุคลากร
ผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด และสมควรได้รับการพัฒนา เพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ที่ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ
การส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางวิชาการด้านเภสัชกรรมจึงเป็นกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง
ที่มีประโยชน์ต่อวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเภสัชกร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพเครือข่าย 6 สถาบัน ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาล
นครพิงค์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ชมรม
เภสัชกรจังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มเภสัชกรจังหวัดเชียงราย จัดให้มีการประชุมวิชาการการศึกษาต่อเนื่อง
ทางเภสัชศาสตร์สำหรับเภสัชกร หัวข้อ Quality Living in Advanced Years ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรมได้เรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์
ใช้ในการปฏิบัติงานภายในองค์กรและกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้ง
ช่วยให้การเกิดพัฒนางาน พัฒนาศักยภาพเภสัชกรที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ของผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับผู้ป่วยสูงอายุในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงและโรคข้อเสื่อม พร้อมแนวทางการรักษาและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึง
การพิจารณาคุณภาพเวชภัณฑ์
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพเภสัชกรรมที่ปฏิบัติงานอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
คำสำคัญ
Quality living in Advanced Years