ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัย รุ่นที่ 1
ชื่อการประชุม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัย รุ่นที่ 1
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รหัสกิจกรรม 1002-2-000-007-02-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันที่จัดการประชุม 21 ก.พ. 2563
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มเป้าหมาย นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลที่สนใจ จำนวน 30 - 50 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัยตามหลักอนุกรมวิธานพืชนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพและความถูกต้องของงานวิจัย เนื่องจากเป็นขั้นตอนแรกของการทำวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์และเตรียมตัวอย่างพืชสมุนไพรอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ด้วยเหตุนี้การจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรที่ถูกต้องจึงถือได้ว่าเป็นการประกันคุณภาพของงานวิจัยตั้งแต่ขั้นตอนแรกและมีส่วนช่วยให้การยื่นต้นฉบับผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ประสบผลสำเร็จ
พิพิธภัณฑ์พืชเป็นสถานที่ในการเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชในรูปแบบของตัวอย่างแห้ง (herbarium specimen) และตัวอย่างดอง (spirit collection) เพื่อการระบุชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของพืช และให้บริการอ้างอิงแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์ของพืช ซึ่งพิพิธภัณฑ์พืชที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนโดย New York Botanic Gardens ในฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า Index Herbariorum สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มีพิพิธภัณฑ์พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องเพียงแห่งเดียว นั้นคือ พิพิธภัณฑ์พืชภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีอักษรย่อตามที่ได้ถูกขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูล Index Herbariorum ว่า PBM
ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืชสมุนไพรและเครื่องยาไทย จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการนำหลักอนุกรมวิธานพืชมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยพืชสมุนไพรแก่นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ เพื่อให้เกิดการศึกษาวิจัย การใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรและเครื่องยาไทยอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้การจัดโครงการดังกล่าวยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์การให้บริการตรวจสอบแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของ พิพิธภัณฑ์พืชภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ (PBM) ของภาควิชาฯ อีกช่องทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตัวอย่างพืชสมุนไพรสำหรับงานวิจัยที่ถูกต้องแก่นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และผู้ที่สนใจ
2. เพื่อฝึกทักษะในการจัดการตัวอย่างพืชโดยใช้หลักอนุกรมวิธานพืช และการเขียนต้นฉบับงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ในส่วน ‘Materials and Methods’ ที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างพืชให้นักวิจัย
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลที่สนใจ
3. เพื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการตรวจสอบแหล่งที่มาทางพฤกษศาสตร์ของพืชสมุนไพรและเครื่องยาไทยของพิพิธภัณฑ์พืชภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ (PBM) ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะ
เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
อัตราค่าลงทะเบียน 1. ผู้ลงทะเบียน 30 คนแรก ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท 2. ผู้ลงทะเบียนลำดับที่ 31 - 50 ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท