การประชุมวิชาการ
ประชุมประสานเครือข่าย ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ชื่อการประชุม ประชุมประสานเครือข่าย ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-002-01-2563
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 20 -21 ม.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ สสจ. เจ้าหน้าที่ศูนย์เฝ้าระวัง (เครือข่าย) และเจ้าหน้าที่ อย. ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 110 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 9 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การจะได้มาซึ่งมาตรการเพื่อควบคุมความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์สุขภาพจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบตรงตามหลักวิชาการ และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณามาตรการเพื่อจัดการความเสี่ยงของคณะกรรมการ/อนุกรรมการที่เกี่ยวข้องคือ “ข้อมูลสัญญาณความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับบุคคล (Individual Case Safety Report; ICSR) มาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือทางสถิติร่วมกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causality assessment) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจะต้องได้รับรายงาน ICSR ที่มีความน่าเชื่อและมีปริมาณมากพอที่ทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจจับสัญญาณความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้
กองแผนงานและวิชาการ จึงเห็นสมควรจัดประชุมประสานเครือข่าย ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงความจำเป็นในการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเปิดโอกาสให้เครือข่ายได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการดำเนินงานเพื่อให้สามารถนำข้อมูลรายงานดังกล่าวมาใช้ในการตรวจจับสัญญาณความเสี่ยงเพื่อหามาตรการจัดการความเสี่ยงหรือพัฒนางานวิจัย อันจะส่งผลให้ระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญ และความจำเป็นในการรายงานเหตุการณ์/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือพัฒนาวิจัย
คำสำคัญ
ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ,ระบบสารสนเทศศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ,เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภา