การประชุมวิชาการ
Digital marketing for pharmaceutical business 2020
ชื่อการประชุม Digital marketing for pharmaceutical business 2020
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2005-2-000-004-12-2562
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมแรมแบรนดท์ สุขุมวิท18
วันที่จัดการประชุม 19 ธ.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมการตลาด (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่ทำงานในบริษัทยาต่างๆ เภสัชกรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการตลาดยา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
Digital disruption เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หลายองค์กรได้พยายามเรียนรู้และปรับตัว นำเครื่องมือทางด้านดิจิทัลมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในมิติต่างๆ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด หรืออีกในมิติหนึ่งคือนำมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์กร
สื่อในยุคดิจิทัลมีการเติบโตสูงกว่าอดีตที่ผ่านมาและยังมีแนวโน้มที่จะเติมโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยผู้บริโภคได้มีการยอมรับในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง คนไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต จำนวนชั่วโมงการใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้ Social media อยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก ซึ่งผลต่อทิศทางการรับสื่อ การซื้อสินค้า การหาข้อมูล ที่เปลี่ยนไปจากเดิมไม่น้อย
โดยเฉพาะในมิติด้านสุขภาพ คนไทยได้มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรค การรักษา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านสื่อออนไลน์ แม้แต่บุคคลากรทางการแพทย์-เภสัชกรเองก็มีการหาข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือแนวทางการรักษาใหม่ๆ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลสุขภาพดังกล่าวมีทั้งถูกสร้างโดยบุคลากรทางการแพทย์ นักวิชาการที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อ้างอิง และยังรวมไปถึงข้อมูลตามความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลในบางประการ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวเภสัชกรการตลาดผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการนำส่งข้อมูลด้านสุขภาพที่เหมาะสมให้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการนำเครื่องมือด้านการตลาดดิจิทัลมาใช้ มีความเท่าทัน สามารถเลือกเครื่องมือได้ตามความเหมาะสมของข้อมูลและกลุ่มเป้าหมาย

ด้วยเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว สมาคมเภสัชกรรมการตลาด(ประเทศไทย) จึงจัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “เจาะกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสำหรับวงการยา “Digital marketing for pharmaceutical business 2020” เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและวิชาชีพเภสัชกรการตลาดให้ก้าวเท่าทันและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรการตลาดมีความรู้ ความเข้าใจหลักการและแนวทางการใช้เครื่องมือดิจิทัลสำหรับการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. เพื่อให้เภสัชกรการตลาดสามารถนความรู้ไปประยุกต์ในการปฏิบัติให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน โดยการนำเครื่องมือทางด้านการตลาดดิจิทัลมาใช้
3. เพื่อเป็นกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Pharmaceutical Education, CPE) เพื่อการพัฒนาตนเองของเภสัชกรการตลาดที่สนใจเข้าร่วมประชุม
คำสำคัญ
Digital Marketing Pharmacy