โครงการ North Eastern Neuropsychiatric Pharmacy Symposium 2020 เรื่อง “Current issue on neuropsychiatric disorders”
ชื่อการประชุม |
 |
โครงการ North Eastern Neuropsychiatric Pharmacy Symposium 2020 เรื่อง “Current issue on neuropsychiatric disorders” |
สถาบันหลัก |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
รหัสกิจกรรม |
 |
1010-2-000-010-01-2563 |
สถานที่จัดการประชุม |
 |
โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อุบลราชธานี |
วันที่จัดการประชุม |
 |
30 -31 ม.ค. 2563 |
ผู้จัดการประชุม |
 |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
กลุ่มเป้าหมาย |
 |
เภสัชกร ,บุคลากรทางการแพทย์ |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง |
 |
11.5 หน่วยกิต |
หลักการและเหตุผล
โรคระบบประสาทและจิตเวชเป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบันทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคหลอดเลือดสมองและสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศ โรคของระบบประสาทนอกจากโรคหลอดเลือดสมองก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ได้แก่ โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม เป็นต้น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่พบบ่อยในโรคระบบประสาทที่ทำให้ผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว แม้ว่าปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสุขภาพสมัยใหม่ จะช่วยให้ลดอัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ตาม แต่พบว่าการได้รับการรักษาที่ไม่ทันท่วงทีอาจก่อให้เกิดความพิการได้ ความพิการที่พบได้แก่ อัมพาตครึ่งซีก เคลื่อนไหวลำบาก สูญเสียการทรงตัว กลืนอาหารลำบาก พูดไม่ชัด มีความบกพร่องทางความรู้สึกนึกคิด สภาพจิตใจอารมณ์ไม่ปกติ สูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ โรคลมชักเป็นกลุ่มอาการอันเนื่องจากการที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดทำงานมากเกินปกติไปจากเดิมชั่วขณะหนึ่งซึ่งพบได้บ่อยประมาณ 25 คนต่อประชากร 1000 คน ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบมากและเป็นสาเหตุของการทุพพลภาพและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นการรักษาโรคลมชักหากผู้ป่วยควบคุมอาการชักไม่ได้ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ ดังนั้นเภสัชกรมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาททั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว
โรคทางจิตจัดเป็นกลุ่มโรคที่ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแลและสังคม เป็นโรคที่ต้องใช้การรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยการใช้ยา โดยยาจิตเวชเป็นกลุ่มยาที่มีอาการไม่พึงประสงค์และอันตรกิริยาค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดความไม่ร่วมมือในการใช้ยาและผลต่อการรักษาและคุณภาพชีวิต การดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชต้องอาศัยองค์ความรู้หลายด้าน ทั้งด้านการใช้ยา การสื่อสารกับผู้ป่วย การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เภสัชกรเองมีบทบาทด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจิตเวช สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและสอดรับนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทำงานร่วมกับสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยทั้งจากอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว
ตามนโยบายยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัยสนับสนุนการสร้างสุขภาวะที่ดี ประกอบกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขด้านระบบบริการสุขภาพในการพัฒนากำลังคนด้านการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้วยความตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้จัดการอบรมเพื่อพัฒนาของเภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ในหัวข้อเรื่อง the North Eastern Neuropsychiatric Pharmacy Symposium 2020 “Pharmacotherapy in neuropsychiatry” อันจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และทักษะแก่เภสัชกรให้มีความพร้อมที่จะดำเนินงานด้านการในด้านการดูแลผู้ป่วยในโรคระบบประสาทและจิตเวช โดยเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่จำเป็นรวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับโรคระบบประสาทและจิตเวชในด้านแนวทางการรักษา ประสิทธิภาพของการใช้ยา ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น
2.เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพทางด้านโรคระบบประสาทและจิตเวช
3.เพื่อสร้างเครือข่ายในการร่วมดูแลผู้ป่วยโรคระบบประสาทและจิตเวชในภาคอีสานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
คำสำคัญ
โรคระบบประสาทและจิตเวช
วิธีสมัครการประชุม
ลงทะเบียนออนไลน์ที่http://www.phar.ubu.ac.th/conference/about.php?conf=Neuropsychiatric2020&project_id=16 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางสาวดารุณี นามห่อ โทรศัพท์ 0-4535-3603 ค