ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
การอบรม 22nd Bangkok International Symposium on HIV Medicine
ชื่อการประชุม การอบรม 22nd Bangkok International Symposium on HIV Medicine
สถาบันหลัก ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
รหัสกิจกรรม 0001-2-000-001-01-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 15 -16 ม.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย - ออสเตรเลีย - เนเธอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-NAT)
กลุ่มเป้าหมาย 1. แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2.แพทย์จากประเทศต่างๆ ในเอเชีย
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ของโรคเอดส์ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ทั่วโลกดีขึ้นมาก ตั้งแต่เริ่มมีการให้ยาต้านไวรัสเอดส์อย่างกว้างขวางกับผู้ติดเชื้อในประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ในปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจากประเทศกำลังพัฒนาได้รับยาต้านไวรัสเอดส์เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านคนเป็น 8 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกปีละ 2 ล้านกว่าคน (ในขณะที่คนไทยติดเชื้อใหม่ชั่วโมงละเกือบ 2 คน) แสดงว่าคนอีกจำนวนมากยังไม่ตระหนักยังไม่ป้องกันตัว และ 8 ใน 10 คน ที่ติดเชื้ออยู่แล้วทั่วโลกในขณะนี้ยังไม่รู้ตัวเองติดเชื้อเพราะไม่เคยไปตรวจเลย ดังนั้นการทำให้คนที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้วรู้ตัวจึงเป็นมาตรการสำคัญที่สุดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ปัญหาที่ท้ายในปัจจุบันคือจะทำให้คนที่อาจมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในตัวแล้วในขณะนี้มีความตระหนักไปตรวจเอดส์โดยสมัครใจแต่เนิ่น ๆ ได้อย่างไร ทั่วโลกจึงมีการคิดหาวิธีต่าง ๆ ที่จะให้ประชาชนทั่วไป มีความตระหนักและเข้าถึงการตรวจเอชไอวีมากขึ้น มีความสะดวกมากขึ้น ได้ผลที่แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งการตรวจเจอเร็วในขณะที่ยังไม่ป่วย แล้วรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์แต่เนิ่นๆ มีความสำคัญมากในการที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่ดี และมีอายุยืนยาวเหมือนกับคนที่ไม่ติดเชื้อทั่วไป การที่มีเชื้อเอชวีมากๆ ในร่างกายไปนานๆ จะทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทำให้เส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ไตและตับวายได้ ดังนั้นการให้ยาต้านไวรัสเอดส์แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันโรคเหล่านี้ได้ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าป้องกันได้ไม่หมด เพราะโรคเหล่านี้เป็นโรคของผู้สูงอายุ ยิ่งผู้ติดเชื้อมีชีวิตยืนยาวขึ้น โรคของผู้สูงอายุก็จะพบมากขึ้นด้วยรวมถึงมะเร็งชนิดต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องจากอายุที่มากขึ้น บวกกับเชื้อเอชไอวีที่ยังมีอยู่ในร่างกายและยาต้านไวรัสเอดส์ที่รับประทานอยู่
วัตถุประสงค์
บุคลากรทางการแพทย์ไทยจะได้รับความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ดีขึ้น และก่อให้เกิดการประสานงานระหว่างแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยต่อไป
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
คุณณัฐภา โทร 02 652 3040 Email : natthapa.p@hivnat.org