การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการโดยกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังประจำปี 2563 TPAC 2020: Now and Future in Respiratory Management
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการโดยกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังประจำปี 2563 TPAC 2020: Now and Future in Respiratory Management
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-001-01-2563
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องรัตนโกสินทร์-สุโขทัย โรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 22 -24 ม.ค. 2563
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล และเภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 14.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โรคหืด (Asthma) และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease เรียกย่อๆว่า COPD) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และคาดว่าปัญหาจะมากขึ้นเนื่องจากจะมีประชากรสูงอายุมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยพบปัญหาเช่นเดียวกันซึ่งทำให้มีการบรรจุแผนการดูแลรักษาโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังใน Service plan ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งทำให้บุคลากรทีมสหวิชาชีพต้องมีการจัดการให้มีแผนการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม เภสัชกรเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังมีประสิทธิภาพ ในระยะเวลา 2 ปีมานี้เป็นระยะที่มีความก้าวหน้าของยาในการดูแลรักษาโรคหืดและปิดอุดกั้นเรื้อรัง และมีหลักฐานทางวิชาการใหม่ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาโรคหืด Global Initiative for Asthma (GINA) Guideline และ Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD guideline) สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังจึงควรเพิ่มพูนความรู้ให้ทันสมัย โดยเฉพาะเภสัชกรเพื่อให้การบริบาลทางเภสัชกรรมที่มีคุณภาพ ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่าจะได้รับยาที่ปลอดภัยและเหมาะสม มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational use of drug) ควรมีองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นในเชิงลึกทั้งในด้านโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคทางเดินหายใจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ที่ทันสมัยในความก้าวหน้าของยาที่ใช้ในการรักษาโรคทางเดินหายใจ การบูรณาการแนวทางการปฏิบัติในการเป็นผู้นำทิศทางของการบริบาลทางเภสัชกรรมที่สอดคล้องกับแนวนโยบายหลักของระบบดูแลผู้ป่วย และมีการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับโรงพยาบาลและระดับปฐมภูมิ และสามารถกำหนดการประเมินผลติดตามประสิทธิผลการบริบาลด้วยตัวชี้วัดทั้งด้านผลลัพธ์ และในเชิงกระบวนการ และสามารถใช้กระบวนเรียนรู้ในเชิงการวิจัยตามมาตรฐานวิชาชีพไปสู่การพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อการสื่อสารแนวนโยบาย ข้อมูลสถานการณ์ของโรค ความก้าวหน้าของการรักษา และบทบาทของเภสัชกรในการบริบาลผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคในระบบทางเดินหายใจ
2. เพื่อทบทวนความรู้ที่จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง Allergic rhinitis เพิ่มเติมความรู้ของแนวทางการรักษาใหม่ ยาใหม่ อุปกรณ์ยาสูดแบบใหม่ และทบทวนทักษะตลอดจนเพิ่มเติมความรู้ในการใช้ยาสูดและอุปกรณ์การสูด พ่นยาแบบใหม่ รวมถึงความรู้ในประเด็นร้อนของ E-cigarette การใช้กัญชาทางการแพทย์กับโรคทางเดินหายใจ
3. เพื่อทบทวนและเพิ่มเติมความรู้ในการดูแลผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจในเชิงระบบ การจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างเนื่อง บทบาทเภสัชกรและการประเมินประสิทธิผลการดำเนินการ
4. พัฒนาแนวคิดในเชิงพัฒนาคุณภาพในการบริบาลทางเภสัชกรรมของผู้ป่วยในโรคระบบทางเดินหายใจ และการจัดการความรู้นำไปสู่การพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนางานต่อไป
คำสำคัญ
TPAC ,Asthma, หอบหืด, ปอดอุดกั้นเรื้องรัง