การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร ​ เรื่อง การจัดการความปวดในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร ​ เรื่อง การจัดการความปวดในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-047-12-2562
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่จัดการประชุม 01 ธ.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร และผู้สนใจทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ในช่วงเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา สถานการณ์ของประชากรในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ อัตราการเพิ่มของประชากรลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการลดลงของอัตราการเกิด ร่วมกับการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการนำเอาวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งการดำเนินการทางด้านสาธารณสุขที่ก้าวหน้า ทั้งการเพิ่มจำนวนสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส) รวมถึงการเพิ่มบทบาทหน้าที่เภสัชกรปฐมภูมิในการติดตามการใช้ยาและการดูแลประชากรสูงวัยในชุมชน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประชากรสูงวัยนั้นพบปัญหาสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดหลัง ปวดเอว ไขข้ออักเสบ และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในหลอดเลือดสูง โรคเบาหวาน) จึงทำให้เภสัชกรปฐมภูมิมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการติดตาม ดูแล แก้ปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชนของตนเอง
ความปวด (pain) ถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ 5 (The fifth vital sign) และเป็นปรากฎการณ์ที่ผสมผสานทั้งด้านชีว-จิต-สังคม จึงควรได้รับการประเมินอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกไว้ทั้งในเชิงปริมาณและผลกระทบต่อกิจกรรมในการดำเนินชีวิต ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหรือบุคลากรทางการแพทย์จึงควรพิจารณาปัจจัยทางจิตและอารมณ์ของผู้ป่วยร่วมด้วยเสมอในการจัดการความปวดนอกเหนือจากการประเมินทางกายและทางพยาธิสภาพ เพื่อให้การรักษาครอบคลุมทุกแง่มุมของความปวด และผู้ป่วยได้รับการจัดการความปวดที่เหมาะสมเพียงพอ ซึ่งการจัดการความปวดนั้นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ทั้งนี้ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ (เช่น เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงวัย) จะแสดงอาการปวดในระดับที่แตกต่างกัน และเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความปวดอาจใช้กระบวนการสังเกตที่มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยกลุ่มพิเศษนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความรู้ที่ทันสมัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมทั้ง Pharmacological treatment และ Non-pharmacological treatment เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยและญาติ อีกทั้งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรให้มีสมรรถนะในการให้การบริบาลด้านการจัดการความปวดแก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ ส่งผลเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในภาพรวม
ในการนี้คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดชุดโครงการนี้เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนให้เภสัชกรปฐมภูมิได้เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเพื่อยกระดับศักยภาพในการบริบาลทางเภสัชกรรมให้เป็นมาตรฐานและมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และปลอดภัยสูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรมีสมรรถนะและทักษะในการจัดการด้านความปวดในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมด้านการจัดการความปวดแก่ผู้ป่วยได้
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
- ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ของหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฝ่ายพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.pharm.chula.ac.th/ce) โดยมีอัตราค่าลงทะเบียนดังนี้ o ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ท่านละ 1,000 บาท o ชำระค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ท่านละ 1,800 บาท - หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจะสนับสนุนค่าลงทะเบียนแก่อาจารย์เภสัชกรประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงาน (แหล่งฝึกงานสำหรับนิสิตปีที่ 3, ปีที่ 4 และปีที่ 6) จำนวนไม่เกิน 30 ท่าน (ต้องลงทะเบียนก่อนวันที่ 31 ตุลาคม 2562)