การประชุมวิชาการ
Paradigm Shift in Asthma Management : Update from GINA 2019
ชื่อการประชุม Paradigm Shift in Asthma Management : Update from GINA 2019
สถาบันหลัก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
รหัสกิจกรรม 3001-2-000-025-08-2562
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมอาคาร 4 ชั้น 6
วันที่จัดการประชุม 03 ก.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่คณะกรรมการอาหารและยา จำนวน 150 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลสถิติ-กระทรวงสาธารณสุขปี 2558 พบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดในประเทศไทยถึงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อพบว่า ผู้ป่วยโรคหอบหืดมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่า 2000 รายต่อปี โรคหอบหืดยังไม่มีทางรักษาที่หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วย จึงเป็นการควบคุมอาการให้ผู้ป่วย ใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติ อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหัดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยหลังจากปีค.ศ. 1960 มีการค้นพบครั้งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการรักษาโรคหอบหืดจนมาถึงปัจจุบัน
โดยพบว่าโรคหอบหืดเป็นโรคเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม และหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ (Bronchial Hyperresponsiveness) มีผลทำให้หลอดลมเกิดการหดเกร็ง มีการหลั่งมูกในหลอดลมจำนวนมาก และมีการบวมของผนังหลอดลม เป็นผลให้มีการตีบแคบของหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยหอบเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอกไ อหายใจมีเสียงหวีด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจหายได้เองหรือเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม
การรักษาโรคหอบพืชในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้และยาที่พัฒนามากขึ้น ด้วยความร่วมมือกันของ 5 สมาคมวิชาชีพได้แก่ สมาคมสภาองค์กรโรคหืดประเทศไทย สมาคมอุรเวชช์ประเทศไทย สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบคัวแห่งประเทศไทย จึงมีการจัดทำแนวทางวินิจฉัยและรักษาโรคหอบหืดฉบับใหม่ \"Thai Asthma Guideline for Adult 2019 เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาระดับสากล และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรคนี้จึงเป็นโรคเรื้อรังที่บั่นทอนสุขภาพทั้งผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็ก เช่น การขาดงาน สูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของครอบครัวและของประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีความพยายามที่จะจัดทำมาตรฐานและแนวทางในการวินิจฉัยและการรักษาขึ้นทั่วโลก เช่น The Globbal Initiative for Asthma (GINA) จากองค์กรอนามัยโลก รวมถึงประเทศไทยเองก็อาศัยความร่วมมือจาก สมาคมราชวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวให้เหมาะสมกับการรักษาโรคหอบหืดในผู้ป่วยผู้ใหญ่และเด็กในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมานอนโรงพยาบาลให้ได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องโรคหอบหืด การแบ่งประเภทตามลำดับความรุนแรงของโรค และแนวทางการรักษาโรคหอบหืด รวมถึงแนวทางการรักษาใหม่ในGINA Guideline 2019 ในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่
2. เพื่อสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานประจำ
คำสำคัญ
โรคหอบหืดชนิด mild asthma, The Globbal Initiative for Asthma (GINA), Short acting B2 agonist (SABA), Inhaled Corticosteroids(ICS)