การประชุมวิชาการ
งานประชุมวิชาการ เรื่อง The 7th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2019
ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการ เรื่อง The 7th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2019
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-2-000-007-10-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ ห้องบอลรูม โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพฯ
วันที่จัดการประชุม 30 ต.ค. 2562 - 01 พ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรโรงพยาบาล และเภสัชกรผู้สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 21 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากองค์ความรู้และทักษะทางเภสัชบำบัดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เภสัชกรโรงพยาบาลที่ดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และสามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) และกลุ่มเภสัชกรผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ (ประเทศไทย) ได้ตระหนักถึงความต้องการของเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสาขาโรคติดเชื้อ ที่มุ่งหวังจะได้รับการอบรมทางเภสัชบำบัดเฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย จึงได้จัดงานประชุมวิชาการ เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ชื่องานว่า The 7th National Pharmacy Conference on Antimicrobial Agents and Resistant Organisms (NCARO) Infectious Disease Pharmacists 2019: How to start and steer for Antimicrobial Stewardship Program (ASP) โดยมุ่งหวังที่จะสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ของเภสัชกร ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้อย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานที่ดี และเป็นที่ยอมรับต่อทีมสหสาขาวิชาชีพ อันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคโรคติดเชื้อให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการทบทวนและให้ความรู้ที่จำเป็นในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อในด้าน การวินิจฉัยและประเมินผู้ป่วยโรคติดเชื้อ การแปลผลความไวของเชื้อต่อยา การเลือกยาต้านจุลชีพแบบคาดการณ์ การกำหนดขนาดยาโดยอาศัยหลักการเภสัชจลนศาสตร์/เภสัชพลศาสตร์ การติดตามผลการรักษา การเปลี่ยนชนิดยาหรือการเปลี่ยนเป็นยารับประทาน
2. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการนำไปปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ผ่านการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (case-based learning) อันได้แก่ กรณีผู้ป่วยได้รับพิษจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ ทั้ง โรคติดเชื้อจากสายสวนหลอดเลือด การติดเชื้อผิวหนังและเยื่อบุอ่อน การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อช่องท้อง และการติดเชื้อในผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท
3. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเภสัชกรในการประยุกต์การใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมในโรงพยาบาลสอดคล้องกับมาตราฐานโรงพยาบาล (Antimicrobial Stewardship Program (ASP))
คำสำคัญ
SOPITT ,NCARO , การดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ, ยาต้านจุลชีพ