การประชุมวิชาการ
Smoking cessation, Allergic rhinitis and Canabis for pharmacist
ชื่อการประชุม Smoking cessation, Allergic rhinitis and Canabis for pharmacist
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-018-08-2562
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม บุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
วันที่จัดการประชุม 11 ส.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรชุมชนและเภสัชกรในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
อุบัติการณ์ของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ พบได้ประมาณ ร้อยละ 10 - 25 ของจำนวนประชากรทั่วโลกในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคนี้ ในเด็กวัยเรียน (6 - 7 ปี) หรือ นักเรียน (13 - 14 ปี) ในปี พ.ศ. 2538 พบว่าเป็นโรคนี้ร้อยละ 38 สูงขึ้นกว่าเดิมเกือบ ถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับร้อยละ 23 เมื่อสำรวจในปี พ.ศ. 2518 และอุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเข้าสังคมแย่ลง เมื่อเทียบกับคนปกติทั่วไป การที่ไม่ได้รักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ไซนัสอักเสบ ผนังคออักเสบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ หรือไอเรื้อรัง ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบโดยเฉพาะในเด็ก ภาวะมีน้ำขังในหูชั้นกลาง จมูกไม่ได้กลิ่น นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาด้วยยาจึงมีบทบาทอย่างมากในการช่วยบรรเทาและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่เป็นโรคติดบุหรี่มากถึง 11.4 ล้านคน ซึ่งพิษภัยจากบุหรี่ในระยะยาวนั้น จะทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่ต้องเผชิญกับโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง และ อื่นๆ ซึ่งไม่เพียงแต่จะกระทบต่อผู้สูบเท่านั้น ยังส่งผลต่อผู้ที่อยู่รอบข้างที่ได้รับควัยบุหรี่ด้วย แต่ปัจจุบันนี้ ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะเลิกบุหรี่ เมื่อหยุดบุหรี่เฉียบพลัน มักเกิดอาการถอนนิโคติน ได้แก่ ปวดศีรษะ อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด เศร้า ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีแรงจูงใจ สมาธิไม่ดี หิวบ่อย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น ทำให้ผู้สูบบุหรี่ที่พยายามหยุดสูบบุหรี่ทนต่ออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ทำให้ต้องกลับไปสูบบุหรี่อีก ยาหรือหมากฝรั่งอดบุหรี่จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้ผู้ที่ติดบุหรี่ สามารถเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นหากได้รับการใช้อย่างถูกวิธี ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวการให้คำปรึกษา และการใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้ผู้สูบเลิกสูบได้ง่ายยิ่งขึ้น
เดือนกุมภาพันธ์ 2562 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) “ปลดล๊อค” กัญชาและกระท่อม เปิดโอกาสให้มีการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ นับแต่นั้นมา “กัญชา” ก็อยู่ในความสนใจของคนไทย และมีความเคลื่อนไหวให้เห็นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จากรายงานการวิจัยดังกล่าวเป็นการตอกย้ำความสำคัญของกัญชา กับโอกาสการใช้รักษาโรค แม้ว่าในต่างประเทศได้นำสารออกฤทธิ์จากกัญชามาเป็นยาแผนปัจจุบัน เป็นเวลานานกว่า 20 ปี เช่น Dronabinol®, Marinol® มาใช้เป็นยารักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน อันเนื่องการรักษาด้วย chemotherapy ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ ยากระตุ้นความอยากอาหาร ในผู้ป่วย AIDS ที่เบื่ออาหาร (anorexia) ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศโรคที่สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษาซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล สำหรับ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรควิตกกังวลไปทั่ว ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง รวมไปถึงมะเร็งระยะสุดท้าย ความรู้เรื่องกัญชาและการดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับ
ชมรมเภสัชกรชุมชนจังหวัดสงขลา ร่วมกับ บริษัท johnson and johnson จำกัด ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดการประชุมวิชาการให้ความรู้กับเภสัชกรชุมชนและเภสัชกรผู้สนใจ ในเรื่อง Smoking cessation, Allergic rhinitis and Canabis for pharmacist โดยได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการทำงานในร้านขายยา
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้เรื่อง Smoking cessation
2.เพื่อให้ความรู้เรื่อง Allergic rhinitis
3.เพื่อให้ความรู้เรื่อง Canabis for pharmacist
คำสำคัญ
Allergic, smoking cessation, canabis