การประชุมวิชาการ
Investigation biomolecular and live cell interactions by Surface Plasmon Resonance and Ligand Tracer เพื่อการพัฒนาและวิจัยยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ชื่อการประชุม Investigation biomolecular and live cell interactions by Surface Plasmon Resonance and Ligand Tracer เพื่อการพัฒนาและวิจัยยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รหัสกิจกรรม 1004-2-000-016-07-2562
สถานที่จัดการประชุม ห้อง ภ.1107 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่จัดการประชุม 09 ก.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กลุ่มเป้าหมาย 1.อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
สมบัติทางแสงของอนุภาคนาโนของโลหะเกิดจากการสั่น (oscillation) ของอิเล็กตรอนที่ผิวของ อนุภาคนาโน (localizd surface plasmons) เป็นขบวนการควอนไทซ์ (quantized) กล่าวคือ เมื่ออคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าตกกระทบลงบนอนุภาค localized surface plasmons จะเกิดการสั่นพ้องก็ต่อเมื่อความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเท่ากับความถี่ในการสั่นของอิเล็กตรอน (plasmon frequency) เนื่องจาก การแทรกสอดแบบเสริม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า เซอร์เฟส พลาสมอน เรโซแนนซ์ (surface plasmon resonance, SPR) ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทําให้เกิดการดูดกลืนแสงที่ความถี่ เฉพาะเจาะจงค่าหนึ่งๆ ส่งผลให้อนุภาค นาโนมีสีที่แตกต่างกันออกไปจากโลหะแบบก้อน (bulk metal)
ในการประยุกต์ใช้ของเทคนิค SPR ในการศึกษาปฏิกิริยาการเข้าคู่กันของโมเลกุลสามารถทำได้เนื่องจากคลื่นผิวพลาสมอน (Surface plasmon resonance, SPR) เป็นเทคนิคเชิงแสงที่มีความไวสูงและจำเพาะต่อการเปลี่ยนแปลงที่ผิวของเซนเซอร์ สามารถใช้ศึกษาการเข้าคู่กันของโมเลกุลของสารชีวภาพโดยไม่ต้องใช้โมเลกุลฉลาก จึงเหมาะสมสำหรับใช้เป็นทรานสดิวเซอร์ของไบโอเซนเซอร์ ปัจจุบัน SPR ได้รับความนิยมอย่างมากในการศึกษาปฏิกิริยาการเข้าคู่กันของโมเลกุล สำหรับประยุกต์ใช้งานด้านการตรวจวัดสารชีวภาพหรือสารเคมีในอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การศึกษาประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา การตรวจหาสารชีวเคมีสำหรับทางการแพทย์ การตรวจหาเชื้อโรค SPR เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านไบโอเซนเซอร์ของประเทศให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วขึ้น เพราะมีเครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนตั้งแต่ในห้องปฏิบัติการจนถึงการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ตรวจวัดทั่วไป
เครื่อง SPR โดยส่วนมากมักมีราคาแพง มีการพัฒนา OpenSPR ขึ้นที่ยังมีความความสามารถให้การตรวจวัด Kinetic, Affinity การจับกันของโมเลกุลได้เหมือนเดิมจะต่างกันที่ระบบโดย OpenSPR ทำระบบให้ง่ายขึ้น เช่นใช้ LED เป็น Light Source แทน Laser, ใช้ตรวจวัดค่า absorbance ที่เปลี่ยนแปลงไปบริเวณผิว sensor แทนการดูมุมสะท้อนที่เปลี่ยนแปลง และเปลี่ยน sensor chip จากแผ่นทองบางธรรมดา มาเป็น Nano-structured gold แทน โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ประสิทธิภาพในการใช้งานยังคงได้ผลที่ดีเหมือนกัน แต่ราคาของเครื่องOpenSPRจะถูกลงจาก SPR ปกติมากทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์ของ SPR เทคนิคและการประยุกต์ใช้ในงานวิจัยภาควิชาเภสัชเคมีร่วมกับบริษัท ไรทส์ อินสตรูเมนส์ จำกัด จึงมีความประสงค์ที่จะจัดสัมมนาในหัวข้อ Investigation biomolecular and live cell interactions by Surface Plasmon Resonance and Ligand Tracer ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีของ surface plasmon resonance, SPR
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจความแตกต่างเทคนิค SPR และ OpenSPR
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงการประยุกต์ใช้ SPR และ OpenSPR สำหรับประยุกต์ใช้งานด้านการตรวจวัดสารชีวภาพหรือสารเคมีในอาหาร ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การศึกษาประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา การตรวจหาสารชีวเคมีสำหรับทางการแพทย์
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับงานของตนได้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ
Surface Plasmon Resonance พัฒนายา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ