การประชุมวิชาการ
โครงการพัฒนามาตรฐานร้านยาและเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา
ชื่อการประชุม โครงการพัฒนามาตรฐานร้านยาและเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-019-07-2562
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารสุขเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
วันที่จัดการประชุม 03 ก.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเป้าหมาย ผู้รับจำหน่ายยา ,ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร้านยาและผู้รับผิดชอบงานตรวจมาตรฐานร้านยาในระดับจังหวัดและอำเภอ ,ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหนายใน้รานยา ชุมชน และผลิตภัณ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชชุมชน goo pharmacy practice (GPP) ได้รับการประกาศเป็นกฎหมายภายใต้ กฎกระทรวงเรื่อง การขออนุญาต และการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ.2556 ซึ้งออกตามความในพระราชบัญญัติ พ.ศ.2510 ทั้งนี้ร้านขายยาแผนแผนปัจจุบันทุกประเภทจะต้องปฏิบัติตาม และจะต้องผ่านการประเมิน ดังกล่าว เพื่อให้สามารถต่ออายุใบอนุญาตได้ โดยการบังคับนี้จะสิงผลทันทีต่อร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตหลังจากวันที่กฎกระทรวงฯมีผลบังคับ คือ ร้านขายยาแผนปัจจุบันทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป สำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาตก่อนหน้านี้จะมีเวลาผ่อนผันในช่วงไม่เกิน 8 ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับ
เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านยา ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา ได้รับทราบข้อกฎหมาย กฎกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการร้านค้า ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติในการจำหน่ายกลุ่มยาสุ่มเสี่ยง ป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขจึงได้ดำเนินกิจกรรมประชุมผู้ประกอบการร้านยาโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการจากร้านยาที่มีมาตรฐาน และประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
จากข้อมูลในปี 2561 ที่ผ่านมา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ได้สุ่มตรวจตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยา 214 รายการพบว่า ผ่านมาตรฐาน 128 รายการ คิดเป็น 59.81% จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพยังมีการกระจายอยู่ในพื้นที่และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมให้ประชาชนใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้ตระหนักถึงปัณหาการใช้ยาของประชน จึงได้มีการจัดทำกิจกรรมส่มวิเคราะห์คุณภาพยาที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้ด้านกฎหมาย กฏกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการร้านยาแก่ผู้ประกอบการ ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา และเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการจากร้านยาที่ได้มาตรฐาน
2. เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการใช้ยา่และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
3. เพื่อควบคุมร้านยาให้ปฏิบัติได้มาตรฐานตาม Compliance
4. เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
คำสำคัญ
การใช้ยา ,ผลิตภัณฑ์สุขภาพ