การประชุมวิชาการ
การประชุมหัวหน้างานเภสัชกรรมการผลิตประจำปี 2561
ชื่อการประชุม การประชุมหัวหน้างานเภสัชกรรมการผลิตประจำปี 2561
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-003-08-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรม Amara Bangkok ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 01 -02 ส.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในหน่วยเตรียมอาหารทางหลอดเลือดดำจากโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 100 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยที่นอนอยู่ในโรงพยาบาลเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการรักษาและระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการในโรงพยาบาล ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ และพยาบาล ในด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพหลายๆสาขา การจัดการด้านภาวะทุพโภชนาการเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเจ็บป่วย ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และลดอัตราการตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยอายุรกรรม ผู้ป่วยศัลยกรรมและ ทารกแรกเกิด นอกจากนี้แนวคิดในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ คือ การมีเครือข่ายบริการภายในและระหว่างเขตสุขภาพลดการส่งต่อโดยการขยายขีดความสามารถของแต่ละเขตสุขภาพซึ่งในส่วนของบทบาททีมเภสัชกร ได้แก่ความสามารถในการให้บริการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำในระดับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
คณะทำงานพัฒนาศักยภาพเภสัชกรรมการผลิตชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปกระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดการประชุมดังกล่าวขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่าย และเพิ่มองค์ความรู้ให้กับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านการเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Parenteral Nutrition) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีความเหมาะสมและปลอดภัย โดยในปี 2562 จะมุ่งเน้นในด้านการ Update และการนำความรู้ของการให้สารอาหารทางEnteral และ Parenteral หลอดเลือดดำไปใช้ในผู้ป่วยจริง การเข้ากันได้ของสารอาหาร การเข้ากันได้ของสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำกับยาที่ผู้ป่วย ผ่านการฝึกเชิงปฎิบัติการโดยวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ เพื่อสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
วัตถุประสงค์
1. เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจสามารถพัฒนาระบบการให้บริการด้านสารอาหารทั้งในรูปแบบ Enteral nutrition และ Parenteral nutrition
2. เภสัชกรที่เข้าร่วมประชุมได้ฝึกเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มทักษะบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยที่รับสารอาหารทั้งในรูปแบบ Enteral nutrition และ Parenteral nutrition
3. มีเครือข่ายในการทำงานตั้งแต่ระดับโรงพยาบาล จังหวัด และระดับเขตสุขภาพ
4. มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ภญ.วรนัดดา ศรีสุพรรณ โทร 02 590 1628 Email : naddavo@gmail.com