ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
ความก้าวหน้าการรักษาโรคมะเร็งในเด็กในประเทศไทย
ชื่อการประชุม ความก้าวหน้าการรักษาโรคมะเร็งในเด็กในประเทศไทย
สถาบันหลัก วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รหัสกิจกรรม 1012-2-000-014-06-2562
สถานที่จัดการประชุม ห้องสยามมกุฎราชกุมาร ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
วันที่จัดการประชุม 29 มิ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกำหนดอาหาร นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพกว่า 300 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 4.75 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กซึ่งอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี มีอุบัติการณ์ในแต่ละปีสูงกว่า 1,200 รายและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าอะไรเป็นต้นเหตุ แต่ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูว่าดีหรือไม่ดี หากจะมีเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้นที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคมะเร็งจอภาพตาของนัยน์ตา (retinoblastoma) ในขณะนี้พบว่าเด็กเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากที่สุด ร้อยละ 30 รองลงมาคือมะเร็ง
เนื้องอกในสมอง ร้อยละ 20 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 15 มะเร็งต่อมหมวกไต ร้อยละ 10 ส่วนมะเร็งไต มะเร็งกระดูกและกล้ามเนื้อลาย มะเร็งตับ มะเร็งลูกนัยน์ตา และโรคมะเร็งอื่นๆ พบในสัดส่วนที่เท่ากัน คือร้อยละ 5
มะเร็งที่พบในเด็กส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่เรียกกันว่า ลูคีเมีย (Leukemia) จะมีอาการซีด ไข้ และเลือดออกง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือดออกตามใต้ผิวหนัง โดยจะเห็นเป็นจ้ำเลือดตามแขน ขา นอกจากนี้ยังพบว่ามีตับ ม้าม และต่อมน้ำเหลืองโต เนื่องจากปกติไขกระดูกซึ่งมีอยู่ในกระดูกเกือบทุกชิ้นจะเป็นแหล่งกำเนิดของเซลต่างๆ คือ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด แต่ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไขกระดูกเหล่านี้จะเต็มไปด้วยเซลมะเร็งเม็ดเลือดขาว จึงไม่สามารถสร้างหรือเก็บเม็ดเลือดได้ผู้ป่วยตัวจะซีดเผือดและอาจจะหัวใจวายได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ซึ่งนั่นคือปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กอีกหลายคนในเมืองไทยแม้ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในบางส่วนแล้วก็ตาม แต่ผู้ปกครองก็ยังขาดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ จึงปล่อยเลยตามเลย อีกสาเหตุหนึ่งมาจากความเข้าใจผิดของแพทย์หรือผู้ดูแลที่มีความรู้สึกว่า มะเร็ง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ที่สำคัญเมืองไทยยังขาดแคลนแพทย์ผู้มีความเข้าใจและความชำนาญในการรักษาอีกมาก แต่วันนี้...เรามีความหวังว่าเขาจะต้องหายขาดจากโรคร้าย เขาเหล่านั้น...จะต้องกลับมาเป็นเหมือนเด็กปกติทั่วไปที่สดใส ร่าเริง เหมือนเดิมด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ได้สร้างความมั่นใจแก่เราว่ามะเร็งในเด็ก สามารถรักษาให้หายขาดได้มากกว่าผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พี่น้องท้องเดียวกัน หรือในบางรายอาจรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดที่เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตลอดจนเทคนิคการฉายแสงที่ไม่กระทบต่ออวัยวะอื่น หรือด้วยวิธีการอื่นใด
ก็ตาม แต่ก็คงจะไม่สามารถดำเนินการได้ หากยังขาดแคลนเงินทุน อันเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญอยู่อีกมาก
อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าในการใช้เคมีบำบัดตลอดจนเทคโนโลยีในการรักษาโรคมะเร็งในเด็กดีขึ้นกว่าเมื่ออดีตมาก จึงทำให้อัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งในเด็กโดยในรอบ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคมะเร็งในเด็กที่หายเป็นปกติกว่าร้อยละ ๘๐ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัดการฉายแสงและการปลูกถ่ายไขกระดูก ทั้งนี้การรักษาโรคมะเร็งในเด็กต้องใช้เวลา ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก โดยการรักษาผู้ป่วยแต่ละรายต้องใช้ระยะเวลากว่า ๑-๓ ปี (แล้วแต่ชนิดของโรคมะเร็ง) และค่าใช้จ่ายมากกว่า ๘๐๐,๐๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อราย
โดยรูปแบบในการให้ความช่วยเหลือของกองทุนโรคมะเร็งในเด็กฯ คือช่วยค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา รวมทั้งค่ายา ค่าเดินทางมาตรวจรักษา ค่าที่พัก ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง เช่น การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต โดยในแต่ละปีทางกองทุนฯ ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยดังกล่าวผ่านทางแพทย์ที่ทำการรักษาตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด จากความช่วยเหลือของกองทุนฯ ทำให้อัตราการรอดชีวิตแล้วหายขาดจากโรคมีจำนวนมากขึ้น จนกล่าวได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเด็กมีโอกาสหายขาดจากโรคได้ถึงร้อยละ ๘๐ ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกันทางกองทุนฯ ยังได้สนับสนุนให้กลุ่มแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคมะเร็งในเด็กได้ทำการวิจัย
อีกด้วย นั่นคือ ได้มอบเงินให้กับชมรมโรคมะเร็งในเด็กตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้ทำการวิจัยในการรักษาโรคมะเร็งต่อมหมวกไตในระยะลุกลามให้มีโอกาสหายขาดมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันชมรมโรคมะเร็งในเด็กมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดเป็นจำนวนกว่า ๒๐ แห่งด้วยกัน จากความช่วยเหลือของกองทุนฯ ทำให้เด็กที่เป็นมะเร็งมีโอกาสหายขาดมากขึ้นแล้วยังทำให้วงการแพทย์ไทยมีโอกาส
ทำการวิจัยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ที่ทรงช่วยเหลือ
ผู้ป่วยเด็กยากไร้โรคมะเร็งมากว่า ๑๘ ปี
2. เพื่อส่งเสริมความรู้วิทยาการสมัยใหม่ๆในการดูแลและรักษาโรคมะเร็งให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักกำหนดอาหาร เป็นต้น
3. เพื่อรณรงค์หารายได้สมทบกองทุนโรคมะเร็งในเด็กในพระอุปถัมภ์ฯ ไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ในเด็กที่ยากไร้ทั่วประเทศ
คำสำคัญ
โรคมะเร็งในเด็ก สถานการณ์และบทบาทวิชาชีพในโรคมะเร็งในเด็ก การรักษามะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก การดูแลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก การดูแลผู้ป่วยเนื้องอก