การประชุมวิชาการ
โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 3: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางเพื่อการทำความสะอาดผิวและดูแลเส้นผม
ชื่อการประชุม โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามครั้งที่ 3: การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางเพื่อการทำความสะอาดผิวและดูแลเส้นผม
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รหัสกิจกรรม 1010-2-000-017-06-2562
สถานที่จัดการประชุม ห้องประชุมกิ่งทอง โรงแรมเอชีย เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 13 -14 มิ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการรายใหม่ นักวิจัยและพัฒนาผลิภัณฑ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประชาชนผู้สนใจทั่วไป นักศึกษา คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลรา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 10.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ธุรกิจผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและความงาม เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตและ ขยายอย่างต่อเนื่องทุกปี การบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคนในยุคปัจจุบัน ต่างให้ความสนใจใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม และผิวพรรณ รวมทั้งการดูแลตัวเองมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจด้านความงาม คลินิกดูแลรักษาผิวพรรณ เครื่องสำอาง จึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูงขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่โดดเด่น โดยประเมินจาก ปี 2554-2557 พบว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม อาทิ อาหารเสริม เครื่องสำอาง เป็นธุรกิจอันดับ 1 ติดต่อกัน ตลาดเครื่องสำอางในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมามีการเติบโตแบบก้าวกระโดดเฉลี่ย 18% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวม 2.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% มูลค่า 1.2 แสนล้านบาท และตลาดส่งออก 40% มูลค่า 9 หมื่นล้านบาท จากข้อมูลสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบการผลิตเครื่องสำอางจำนวนมากกว่า 8,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของกฎระเบียบและเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต ขณะที่ภายหลังจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 ธุรกิจเครื่องสำอางมีการแข่งขันกันรุนแรง โดยเป็นที่คาดหมายว่าในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะส่งผลให้เครื่องสำอางจากต่างประเทศทยอยเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมากขึ้น นำไปสู่สภาวะ การแข่งขันกัน เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล เพิ่มสูงขึ้นทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดนอกประเทศ และทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในประเทศจึงจำเป็นต้องมีความรู้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานและให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาศาสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีภารกิจในการขัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้จัดประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการขึ้นเป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากผู้ประกอบการว่า เป็นการอบรมที่น่าสนใจ และสามารถนำความรู้ในเรื่องของข้อกฎหมาย ตลอดจนความรู้ในด้านการพัฒนาและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ ทางผู้เข้าร่วมอบรมยังได้มีการเสนอให้มีการจัดอบรมเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเทคโนลีในการผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง ตลอดจนข้อกฎหมายและหลักเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพยังอยู่ในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนค่อนข้างบ่อย ดังนั้นทางหลักสูตรจึงพิจารณาแล้ว เห็นควรให้มีการจัดอบรมครั้งที่ 3 ในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งจะเน้นเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางเพื่อทำความสะอาดผิวและดูแลเส้นผม ตลอดจนข้อกำหนดในเรื่องของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและแนวทางการขออนุญาตจดแจ้งเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งในแต่ละปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อในการจัดประชุมให้ตรงกับความสนใจของตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ตลอดจนแนวโน้มเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางรายใหม่ และเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการให้ความรู้กับประชาชน และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ ตลอดจนผลการดำเนินงานของหลักสูตรเพื่อให้ประชาชนภายนอกได้รับทราบ โดยให้อาจารย์และนักศึกษาในหลักส่วน ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานอบรมเชิงปฏิบัติการนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมผู้ประกอบการให้ทราบกฎระเบียบและมาตรฐานในการผลิตลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง
2. เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจ
3. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมและผู้เชี่ยวชาญ
คำสำคัญ
เครื่องสำอางเพื่อการทำความสะอาดผิวและดูแลเส้นผม