การประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง การศึกษาทางคลินิกสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง การศึกษาทางคลินิกสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม 1001-2-000-027-05-2562
สถานที่จัดการประชุม โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร
วันที่จัดการประชุม 13 พ.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มเป้าหมาย คณาจารย์ / นักวิจัย จำนวน 60 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 5.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันพบว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น การส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อไม่ให้นำมาซึ่งค่ารักษาพยาบาลค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลื่อง ดังนั้นการตระหนังถึงการชะลอความแก่หรือการชะลอการเกิดโรคที่มักพบในผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากการเสื่อมของอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องสภาวะแวดล้อม อารมณ์ความเครียด พฤติกรรม และอาหาร โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เกิดความเป็นพิษกับเซลล์ และเกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งปกติในร่ายกายมีการรักษาสมดุลย์ของอนุมูลอิสระอยู่แล้ว แต่เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายจะมีการผลิตสารต้านอนุมูลอิสระได้น้อยลง เกิดภาวะไม่สมดุลย์ การควบคุมสิ่งที่ใกล้ตัวในเรื่องของอาหารการกิน และการรับประทานอาหารเสริมเพื่อต้านอนุมูลอิสระจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้
การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีมานานหลายปี เนื่องจากในบางสภาวะของร่างกายมีความต้องการสารอาหารบางชนิดในปริมาณมาก ซึ่งไม่สามารถทานจากอาหารธรรมชาติได้เพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องได้มาในรูปแบบที่มาจากการสกัดเข้มข้น เพื่อทำให้สามารถชดเชยสารอหารที่ขาด แต่อย่างไรก็ตามการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอหารต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมไม่น้อยไปจนไม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่มากเกิดไปที่จนให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นการศึกษาวิจัยด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบทบาทสำคัญที่จะต้องทำการพิสูจน์ถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้ร่วมด้วย
โดยปัจจุบันแม้ว่าได้มีการทดลองผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในห้องปฏิบัติการแล้ว แต่การศึกษาทางคลินิกยังไม่เพียงพอ ยังขาดข้อมูลผลทางคลินิกในด้านต่างๆ เช่น ปริมาณที่เหมาะสมในการนำมาใช้ เมแทบอลิซึม เภสัชวิทยา อาการข้างเคียง และยังไม่มากพอที่จะสามารถลองรับกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวางขายในท้องตลาดที่มีการนำมาบริโภค จึงขาดการยอมรับทางการแพทย์ว่าได้ผลดีในคนหรือไม่ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทางคลินิก ซึ่งผู้ประกอบการรวมถึงนักวิจัยทางคลินิกจะต้องทราบถึงแนวทางการวิจัยทางคลินิกด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทั้งการจัดทำโครงร่างการวิจัยทางคลินิก การดำเนินการที่พิสูจน์ประสิทธิภาพอย่างถูกต้อง และการศึกษาฤทธิ์ที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้การจะประสบความสำเร็จในการนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาสู่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจในกระบวนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อประโยชน์ต่อผู้ที่จะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไปใช้ในการดูแลด้านสุขภาพ และนำข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ของผู้บริโภคในอนาคต
ในโครงการนี้จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้ที่มีประสบการณ์การในงานวิจัยทางคลินิกที่นำอาหารมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อร่างกายส่งผลให้เกิดการป้องกัน และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ การรักษาและฟื้นสู่สภาพร่างกายที่เกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การควบคุมน้ำหนัก และภาวะโรคอ้วน รวมถึงข้อมูลพื้นฐานประกอบการขึ้นทะเบียนอาหารเสริม เพื่อนักวิจัยรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะมีความรู้ในงานวิจัยทางคลินิก การขึ้นทะเบียนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีความมั่นใจในการนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไปใช้ โดยได้เรียนเชิญ Professor Dr. Brian Keith McFarlin ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการนำอาหารฟังก์ชันมาใช้ในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและช่วยให้มีสุขภาพดี
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้มีความรู้ความเข้าในวิธีการศึกษาทางคลินิกของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีขายในท้องตลาด รวมไปถึงการนำมาใช้
- เพื่อเพิ่มศักยภาพของนักวิจัยให้เข้าใจการศึกษาทางคลินิกของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมทั้งกระบวนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้เกิดกระบวนการวิจัยและพัฒนาอย่างครบวงจร
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-218-8454 หรือ e-mail: ce@pharm.chula.ac.th โดยไม่มีอัตราค่าลงทะเบียน