การประชุมวิชาการ
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาเครือข่ายการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ รุ่นที่ 2
ชื่อการประชุม โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาเครือข่ายการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ รุ่นที่ 2
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รหัสกิจกรรม 1005-2-000-021-04-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น
วันที่จัดการประชุม 30 เม.ย. 2562 - 01 พ.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
กลุ่มเป้าหมาย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล และนักเทคนิคการแพทย์ จากโรงพยาบาล เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 160 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 6.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) ในสถานพยาบาล เพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและลดค่าใช้จ่ายด้านยา รวมทั้งลดปัญหาการติดเชื้อดื้อยา โดยมีแผนพัฒนาโรงพยาบาลขนาดใหญ่และเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การจัดการ
การดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศไทยมีการป่วยจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพลดลงร้อยละ 50 และมีปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลงร้อยละ 20 ในปี 2564 ทั้งนี้ การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้บริหารโรงพยาบาลและบุคลากรที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับเขตสุขภาพที่ 7 จึงจัดทำโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ รุ่นที่ 2 ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนงานและเพิ่มขีดความสามารถของแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และนักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการระบบงานด้านต่างๆ ได้แก่ ระบบเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ระบบดูแลกำกับติดตามการใช้ยาต้านจุลชีพ และระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการและให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล
คำสำคัญ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, RDU, การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ, AMR