ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

การประชุมวิชาการ
Updated in skin disorders and adverse skin reactions
ชื่อการประชุม Updated in skin disorders and adverse skin reactions
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รหัสกิจกรรม 1015-2-000-004-06-2562
สถานที่จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่จัดการประชุม 06 -07 มิ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจ จำนวน ๕0 คน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
ด้วยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา เป็นหนึ่งในสถาบันหลักที่จัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผลิตกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องโดยได้รับการแต่งตั้งโดยสภาเภสัชกรรม พ.ศ. 2560 ซึ่งทางสภาเภสัชกรรมได้กำหนดให้ต้องมีการจัดกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องดังนี้คือ (1) จัดการประชุมวิชาการและ (๒) การผลิตบทความวิชาการ โดยจะต้องจัดให้มีกิจกรรม 10 หน่วยกิตต่อปี ดังนั้นเพื่อสนับสนุนให้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา เป็นสถาบันหลักในการจัดกิจกรรมให้หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องและเป็นการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม จึงควรให้มีการจัดงานประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้เป็นการจัดการประชุมวิชาการเรื่องโรคผิวหนังและการประเมินการจัดการแพ้ยาหรืออาการอันไม่พึงประสงค์อื่นๆ ของโรคผิวหนัง เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมความรู้ทางวิชาการที่ทันสมัยให้กับเภสัชกร ทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนังต่างๆ และโรคผิวหนังที่พบบ่อยในร้านยา รวมทั้งแนวทางการใช้ยารักษาในปัจจุบันตลอดจนการปฏิบัติตัวเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย และยังมุ่งเน้นให้สามารถประเมินการจัดการแพ้ยาหรืออาการอันไม่พึงประสงค์จากประสบการณ์การทำงานจริงของวิทยากร เพื่อให้เภสัชกรซึ่งมีบทบาทสำคัญในการบริหารยา ได้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไปได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่มักพบได้บ่อยอย่างอาการผมร่วง ทางสถาบันหลักจึงเล็งเห็นว่าควรมีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินอาการผมร่วง แนวทางการรักษา และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เภสัชกรได้มีการทบทวนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนัง
๒. เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินการจัดการแพ้ยาหรืออาการอันไม่พึงประสงค์อื่นๆ ของโรคผิวหนัง
คำสำคัญ