การประชุมวิชาการ
โครงการฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Antibiotic Stewardship Program
ชื่อการประชุม โครงการฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Antibiotic Stewardship Program
สถาบันหลัก กองบริหารการสาธารณสุข
รหัสกิจกรรม 3003-2-000-002-06-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ โรงแรม แบงค็อก มิดทาวน์ กรุงเทพ (Bangkok Midtown Hotel)
วันที่จัดการประชุม 03 -14 มิ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม กองบริหารการสาธารณสุข
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 80 คน จากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 45.5 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
เชื้อดื้อยาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยส่งผลเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย และเพิ่มค่าใช้จ่ายในระบบบริการสุขภาพของประเทศ นอกจากนี้ ยังทำให้บุคลากรสาธารณสุขและผู้ป่วยเกิด “ความกลัวต่อเชื้อดื้อยา” ส่งผลให้เกิดการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแบบ empirical therapy อย่างไม่เหมาะสม ขาดแนวทางมาตรฐานในการรักษาโรคติดเชื้อ และยังส่งเสริมให้เชื้อดื้อยาเพิ่มสูงขึ้น เป็นเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด เช่น multidrug-resistant organisms (MDROs), extensively drug-resistant organisms (XDRs) และ pan drug-resistant organisms (PDRs) ในประเทศไทย พบปัญหาเชื้อดื้อยาหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อแกรมลบดื้อยา ได้แก่ MDR-Pseudomonas aeruginosa (MDR-PA), MDR-Acinetobacter baumannii (MDR-AB), carbapenem-resistant enterobacteriaceae (CRE), extended-spectrum beta-lactamases producing Escherichai coli/ Klebsiella pneumoniae (ESBL-EC/KP) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ CRE ที่มีการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษามีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะ ยาต้านจุลชีพในกลุ่ม carbapenems ซึ่งเดิมสามารถใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแกรมลบในโรงพยาบาลได้ดี ก็กลับมีประสิทธิภาพในการรักษาลดลง ส่งผลให้ต้องใช้ยาต้านจุลชีพอื่น เช่น colistin ซึ่งมีพิษต่อไตสูงถึงร้อยละ 30 หรือใช้ยาต้านจุลชีพหลายชนิดร่วมกัน หรือใช้ยาต้านจุลชีพในขนาดสูงขึ้น โดยอาศัยหลักการทางเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ หรือใช้ยาต้านจุลชีพใหม่ ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ ล้วนแต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกแบบ randomized controlled trial ที่ชัดเจนถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อดื้อยา มีผลข้างเคียงสูง และมีราคาแพง
การรับมือกับเชื้อดื้อยาจึงเป็นไปในลักษณะของการลดอุบัติการณ์ของเชื้อดื้อยาลงเพื่อให้สามารถใช้ยาต้านจุลชีพเดิมได้ การศึกษาทางระบาดวิทยาและการศึกษาแบบ in vitro พบว่า การลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีผลกระตุ้นหรือส่งเสริมการดื้อยา จะทำให้เชื้อกลับมาไวต่อยาได้ โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการบริโภคยาในหน่วย defined daily dose (DDD) ต่อ 1,000 วันนอน กับอัตราการดื้อยาต้านจุลชีพแบบ MDRs อย่างไรก็ตาม การลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลลง จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลากรสาธารณสุขสาขาต่างๆ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อหรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อเป็นหัวหน้าทีมร่วมกับหน่วยงานและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ได้แก่ เภสัชกรคลินิก, หน่วยจุลชีววิทยา, หน่วย infection control, นักระบาดวิทยาในโรงพยาบาล, ผู้บริหารโรงพยาบาล, หน่วยโรคติดเชื้อ เป็นต้น งานวิจัยจำนวนมากพบว่า antibiotic stewardship programs (ASP) สามารถลดอัตราการดื้อยา ลดอัตราการใช้ยาต้านจุลชีพ และลดมูลค่ายาต้านจุลชีพลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จนในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2011 สมาคมโรคติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกา (Infectious Diseases Society of America, IDSA) ได้ส่งจดหมายไปถึงประธานธิบดีบารัคโอบามา เพื่อขอให้ปลุกเร้าการวิจัยและผลิตยาต้านจุลชีพชนิดใหม่ๆ เพื่อรักษาโรคติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ภายใต้เป้าหมายของการมียาต้านจุลชีพชนิดใหม่ 10 ชนิดภายในปี ค.ศ. 2020 (the 10 x ’20 initiative)1 นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังออกคำแนะนำในการต่อสู้กับเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเพื่อป้องการสูญเสียชีวิต โดยมุ่งเน้นไปที่การนำ “antibiotic stewardship” มาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่ถูกต้องและใช้มากเกินไป เพื่อให้สามารถยืดระยะเวลาที่ยาต้านจุลชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ จนกว่าจะมียาต้านจุลชีพชนิดใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อดื้อยาได้ดีขึ้น รวมถึงการสนับสนุนงานวิจัยทางเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านจุลชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรโรงพยาบาลในการดำเนินการด้าน antibiotic stewardship program และรองรับแผนการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
2. เพื่อให้เภสัชกรที่ผ่านการอบรมสามารถทำงานร่วมกันกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง antibiotic stewardship program ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อส่งเสริมให้อัตราการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลลดลง ส่งผลลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
วิธีสมัครการประชุม
ภญ.วรนัดดา ศรีสุพรรณ โทร 02 590 1628 Email : naddavo@gmail.com