การประชุมวิชาการ
การฝึกอบรมระยะสั้นด้านเชื้อดื้อยาจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วยนอก โดยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว Short-Course Training of AMR and RUA Using OH Interdisciplinary Approach for In-Service Healthcare Profess
ชื่อการประชุม การฝึกอบรมระยะสั้นด้านเชื้อดื้อยาจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วยนอก โดยความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว Short-Course Training of AMR and RUA Using OH Interdisciplinary Approach for In-Service Healthcare Profess
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-2-000-012-06-2562
สถานที่จัดการประชุม ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่จัดการประชุม 17 -18 มิ.ย. 2562
ผู้จัดการประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย 1. หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมและเภสัชกรโรงพยาบาล 2. เภสัชกรที่สนใจ ในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน 3. บุคลากรกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขา
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 12.25 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance: AMR) เป็นวิกฤติร่วมของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพปีละมากกว่า 100,000 ราย โดยผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพมากกว่า 30,000 ราย และสูญเสียทรัพยากรจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพมากกว่า 40,000 ล้านบาทหรือมากกว่าร้อยละ 0.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ นอกจากนั้นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่พัฒนาไม่ทันกับการดื้อยา อีกทั้งบริษัทยาให้ความสนใจกับลงทุนวิจัยในยาต้านจุลชีพลดลง เพราะการค้นพบยาขนานใหม่เป็นไปได้ยากมากและต้องลงทุนสูง อีกทั้งยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้ระยะสั้นและมีอายุการใช้งานไม่นานเนื่องจากการดื้อยา จึงไม่คุ้มค่าในการลงทุน จึงมีความเสี่ยงต่อการไม่มียาปฏิชีวนะให้ใช้และรักษาไม่ได้ผลเมื่อติดเชื้อดื้อยา
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ คือ การใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินความจำเป็น พฤติกรรมสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม และมาตรการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลยังด้อยประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาและเตรียมความพร้อมบุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพของประเทศไทยอย่างเหมาะสม คณะผู้จัดงาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ที่มุ่งหวังจะให้บุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพได้รับการอบรมและฝึกฝนทักษะการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำเกณฑ์หลักสูตรฝึกอบรมฝึกอบรมระยะสั้นด้านเชื้อดื้อยาจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยนอก ประจำปี 2562 นี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพได้เพิ่มเติมองค์ความรู้ และฝึกอบรมทักษะ ในระยะเวลา 2 วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะ และมาตรฐานที่ดีในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจสถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลสำหรับผู้ป่วยนอกให้กับบุคลากรกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างมาตรฐาน/คุณภาพ กระตุ้นให้บุคลากรกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ เกิดแรงจูงใจ ในการปรับปรุงพัฒนาการใช้ยาต้านจุลชีพให้มีมาตรฐานมากขึ้น อันจะนำไปสู่การลดเชื้อดื้อยาในอนาคต
คำสำคัญ
Antimicrobial resistance: AMR