การประชุมวิชาการ
Pain Management : Etoricoxib และการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวดในร้านยา
ชื่อการประชุม Pain Management : Etoricoxib และการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวดในร้านยา
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
รหัสกิจกรรม 1013-2-000-006-01-2562
สถานที่จัดการประชุม โรงแรม เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่นอำเภอเมืองจังหวัดระนอง
วันที่จัดการประชุม 10 มี.ค. 2562
ผู้จัดการประชุม ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย
กลุ่มเป้าหมาย เภสัชกร ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร้านขายยา และผู้ประกอบการร้านขายยา จำนวน ๕๐ – ๑๐๐ คน รวม ๑ วัน
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2 หน่วยกิต
หลักการและเหตุผล
โครงการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๖๒ นี้ เป็นโครงการที่ทางชมรมร้านขายยาจังหวัดระนอง จัดทำขึ้น เพื่อการพัฒนาร้านขายยาให้มีศักยภาพที่ดี ต่อยอดความรู้ พัฒนาทักษะการให้บริการและคำแนะนำด้านสุขภาพแก่สมาชิกผู้ประกอบการและเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านขายยา และเพื่อพัฒนาร้านยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GPP (Good Pharmacy Practices) นอกจากนี้ ยังเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ทางด้านการจัดการความปวดในร้านยา, การใช้ยาสมุนไพรในร้านขายยา ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความปวด คือ อาการที่พบมากที่สุดในร้านยา ดังนั้น ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งยาสมุนไพร ล้วนมีความสำคัญกับสุขภาพ และชีวิตของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ประกอบการรวมทั้งเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทราบข้อมูลที่ทันสมัยและถูกต้องตามหลักวิชาการ

นอกจากนี้ กระบวนการจัดการระบบข้อมูล ก็มีความสำคัญในการบริหารจัดการภายในร้าน เพื่อนำมาซึ่งยอดขาย และผลประกอบการที่เติบโตขึ้น และพัฒนาต่อยอดร้านยาให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ชมรมร้านขายยาจังหวัดระนอง เล็งเห็นความสำคัญ จึงจัดการประชุมบรรยายวิชาการดังกล่าวขึ้น เพื่อพัฒนาบุคลากรในร้านยาของสมาชิกให้มีทักษะ และพัฒนาความรู้ เพื่อเพิ่มมาตรฐานในการบริการที่ดี และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะการจ่ายยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GPP (Good Pharmacy Practices)
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการร้านยา และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยามีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาบรรเทาปวด และสมุนไพรในร้านขายยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

๒. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านยา และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในร้านยา มีแนวทางในการบริหารจัดการในร้านยายุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ
ร้านยา ปวด ยาแก้ปวด Nsaid l,6owri