ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องฯ จะส่ง sms และ email แจ้งเตือนสมาชิกผู้ที่มีหน่วยกิตไม่ครบเกณฑ์ ครั้งต่อไปในวันที่ 11 กรกฎาคม 2568

บทความวิชาการ
ผลของยากลุ่ม SGLT2 inhibitors ต่อระดับกรดยูริกในเลือดและ การเกิดโรคเกาต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ชื่อบทความ ผลของยากลุ่ม SGLT2 inhibitors ต่อระดับกรดยูริกในเลือดและ การเกิดโรคเกาต์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้เขียนบทความ ทิพยวรรณ ตุ้มประชา, ภ.บ., ชญานี อิสรไกรศีล, ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมชุมชน)
สถาบันหลัก สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
รหัสกิจกรรม 2003-1-000-001-04-2564
ผู้ผลิตบทความ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
การเผยแพร่บทความ เฉพาะสมาชิกผู้ผลิตบทความ  
วันที่ได้รับการรับรอง 01 เม.ย. 2564
วันที่หมดอายุ 31 มี.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเมื่อเป็นติดต่อกันระยะเวลานานจะทำให้เกิดโรคเกาต์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดและหัวใจ และยังพบภาวะกรดยูริกในเลือดสูงได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยากลุ่ม sodium-glucose co-transporter 2 (SGLT2) inhibitors เป็นยาชนิดรับประทานที่ใช้รักษาเบาหวานชนิดที่ 2 โดยออกฤทธิ์ยับยั้งโปรตีน SGLT2 ที่ท่อไตส่วนต้น จึงมีผลยับยั้งการดูดกลับของกลูโคสที่ไต ทำให้มีกลูโคสถูกขับออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น การศึกษาทางคลินิกของยากลุ่ม SGLT2 inhibitors พบว่า สามารถลดระดับกรดยูริกในเลือดและลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกาต์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยคาดว่าเกิดจากปริมาณกลูโคสในปัสสาวะที่สูงขึ้น ไปกระตุ้นให้เกิดการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้นผ่านทางตัวขนส่ง glucose transporter 9 (GLUT9) isoform 2 จึงมีผลทำให้ปริมาณกรดยูริกในเลือดลดลง ซึ่งเป็นกลไกที่แตกต่างจากยาลดกรดยูริกในปัจจุบัน ดังนั้น ยากลุ่ม SGLT2 inhibitors อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการลดกรดยูริกในเลือดและลดการเกิดโรคเกาต์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
คำสำคัญ
SGLT2 inhibitors, ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง, โรคเกาต์
วิธีสมัครสมาชิก
คลิก https://thaihp.org/extend.php?option=seminar_memberform&seminar=126