บทความวิชาการ
การทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยาของผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัส
ชื่อบทความ การทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยาของผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัส
ผู้เขียนบทความ ผศ.ดร.ภญ. นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์ และ ภญ. สุทธิกาญจน์ เกียรติยศ
สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รหัสกิจกรรม 1003-1-000-001-01-2564
ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง 20 ม.ค. 2564
วันที่หมดอายุ 19 ม.ค. 2565
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต
บทคัดย่อ
อันตรกริยาระหว่างยา คือ การเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ระดับยาหรือพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาหรือฤทธิ์ทางวิทยาของยาในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้รับยาตัวอื่นร่วมด้วย ความรุนแรงของอันตรกิริยาระหว่างยาขึ้นกับระดับนัยสำคัญของหลักฐานหรือเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผลของการเกิดอันตรกิริยาต่อกันของยา (effects) เป็นผลทั้งคาดการณ์ได้หรือไม่ได้ทางเภสัชวิทยาและทางคลินิกที่เกิดจากอันตรกริยาว่าทำให้มีอาการแสดงถึงพิษจากยาที่เกิดขึ้น หรือสูญเสียประสิทธิภาพของยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองตัวก็ได้ขึ้นอยู่กับเภสัชวิทยาของแต่ละตัว ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและมีโรคร่วมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรกิริยาจากยาได้เนื่องจากมีการใช้ยาหลากหลายชนิด ยาต้านไวรัสเอชไอวีจะมีโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้บ่อย โดยเฉพาะกลุ่ม PIs และ NNRTIs ที่ส่วนใหญ่จะถูกเมแทบอลิซึมด้วยเอนไซม์ CYP3A4 เป็นหลัก และยาต้านเอชไอวีมีคุณสมบัติยับยั้ง (inhibitor) การทำงานของเอนไซม์ ยกเว้น EFV จะถูกเมแทบอลิซึมด้วย CYP2B6 และ CYP 3A4 เป็นหลัก การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอันตรกิริยากับยาต้านไวรัสยังมีจำนวนจำกัด รวมถึงความจำกัดของทางเลือกในการใช้ยา ความจำกัดของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้รับการฝึกฝนอบรม ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยากับยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรจะพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพในงานบริการด้านการรักษาพยาบาลให้เป็นระบบที่มีความปลอดภัยและสามารถกำกับติดตามผู้ป่วยอย่างมีศักยภาพ
คำสำคัญ
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, อันตรกิริยาระหว่างยา, ยาต้านไวรัส, Adverse event, Drug - drug interaction, A